วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

เขียนโดย pespenzie ที่ 04:18 0 ความคิดเห็น
Paya Sataban (:
ต้น พญาสัตบรรณ
            

ดอกพญาสัตบรรณ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
Kingdom:Plantae
Division:Magnoliophyta
Class:Magnoliopsida
Order:Gentianales
Family:Apocynaceae
Tribe:Plumeriae
Subtribe:Alstoniinae
Genus:Alstonia
Species:A. scholaris
ชื่อวิทยาศาสตร์
Alstonia scholaris
L. R. Br.

 เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ลักษณะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็กๆ สีขาวปนน้ำตาลกรดดูจะมียางสีขาวลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้นๆ ใบเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น ใบสีเขียวถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลมขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง (สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดสมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ) ยอดของลำต้นดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่มดอกมีสีขาวอมเหลือง ผลเป็นฝักยาว ลักษณะเป็นเส้นๆ มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้น
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ทั่วไป

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ สัตบรรณ ตีนเป็ด พญาสัตบรรณ (ภาคกลาง) ยางขาว(ลำปาง) ตีนเป็ดขาว(ยะลา) หัสบรรณ (กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris (L.) R.Br.



วงศ์ APOCYNACEAE

ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะโซโลมอนและมาเลเซีย และป่าดงดิบภาคใต้ ตะวันออกเฉียงใต้ และ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย(ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น,2540)

การกระจายพันธุ์ ในประเทศไทยพบขึ้นกระจัดกระจายอยู่ห่างๆกันทุกภาคในประเทศ เช่นที่ในป่า ดงดิบทางภาคใต้ ในป่าพรุที่น้ำท่วมขังทั่วประเทศ หรือในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบตามริมลำห้วยในป่าเบญจพรรณ ชื้นที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 1,000 เมตร(จำลองและคณะ,2534)

ราก เป็นระบบรากแก้ว มีการแตกแขนงกระจายไปรอบๆลำต้น รากมีความเหนียวและ แข็งมากเมื่อมีอายุมากขึ้น

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 35 – 40 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เมื่อปลูกจนกระทั่งมี อายุได้ 6 เดือน จะสูงประมาณ 1.5 เมตร เมื่ออายุครบ 1 ปี จะสูงเกิน 2 เมตรขึ้นไป โคนต้นมักจะเป็นพูพอน ลำต้นเป็นร่องตามยาว เปลือกสีเทาหรือสีน้ำตาลถึงน้ำตาล แดง ค่อนข้างหนาแต่เปราะเรียบหรือแตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ด ไม่เป็นระเบียบ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล หรือเหลือง มีเส้นสีแดงตามยาว มีน้ำยางสีขาวทุกส่วน เรือนยอดของต้นเล็กรูปเจดีย์ ต้นใหญ่เรือนยอดค่อนข้างแบน หรือเป็นชั้นๆกลมทึบ แตกกิ่งออกจากรอบต้น ณ จุดเดียวกันรูปทรงต้นสวยงามและโดดเด่นมาก เนื้อไม้ อ่อน เสี้ยนตรง เนื้อหยาบแต่สม่ำเสมอ ค่อนข้างเหนียว กิ่งหักง่าย แตกกิ่งก้านสาขา มากและเป็นชั้นๆ แตกออกรอบข้อ

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นวงรอบๆข้อวงละ 5 – 9 ใบ แผ่นใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ถึง รูปหอก แกมรูปขอบขนาน หรือรูปมนแกมรูปบรรทัด กว้าง 2 – 6.5 เซนติเมตร ยาว 7 – 20 เซนติเมตร ปลายใบมักแหลมเป็นติ่งเล็กน้อย โคนใบสอบเข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีน้ำตาลอ่อนๆ ใบแก่ด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีขาวนวล ก้านใบยาว ประมาณ 1.5 – 3 เซนติเมตร เส้นใบถี่ขนานกันจำนวน 30 – 34 คู่ ทำมุมฉากกับ เส้นกลางใบและขอบใบ เส้นใบแต่ละเส้นโค้งจรดเส้นถัดไปและแยกถึงขอบใบอีกเส้นย่อยหนึ่ง

ดอก ดอกสัตบรรณจะออกรวมกันเป็นกระจุกสีขาวช่อใหญ่ตรงปลายกิ่ง และในแต่ละช่อนั้นจะแยก ออกเป็นก้านดอกอีก ลักษณะการแยกคล้ายกับซี่ร่ม ดอกจะมีจำนวนมากติดรวมกันอยู่เป็น กระจุกกลมๆ ออกเป็นกลุ่มบนช่อที่แตกกิ่งก้านออกจากจุดเดียวกัน เหมือนฉัตร 3 ชั้น แต่ละชั้น มีกลุ่มดอกย่อย 8 กลุ่มๆละ 8 – 10 ดอกย่อยๆ แต่ละดอกมีอยู่ 5 กลีบ พับกลับ มีรูหน้าดอก ด้านหน้า สีขาวอมเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบมน ปลายแยกเป็นอิสระ 5 แฉก และมีขน เกสรกลางดอกมี 5 อัน เมื่อดอกย่อยบานมี เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยกลมเกลี้ยงสีเขียว ยาว 2 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม ดอกบานอยู่ได้หลายวัน ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองฟางข้าว ส่วนใหญ่ออกดอกเต็มต้น ในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง มกราคม

ผลและเมล็ด ผลเป็นฝักออกเป็นฝักคู่ รูปฝักกลมยาวเรียวห้อยลงสู่ดิน และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 2 – 5 มิลลิเมตร ยาว 30 – 40 เซนติเมตร เปลือกผลเขียวเป็นมัน ผลแก่แตกตาม รอยประสานเป็น 2 ซีก มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก รูปค่อนข้างกลมหรือรียาวประมาณ 7 มิลลิเมตร มีขน ยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง
 



วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

เขียนโดย pespenzie ที่ 07:54 0 ความคิดเห็น

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์
บทไหว้ครู


ข้าขอประนมหัตถ์                      พระไตรรัตนนาถา
ตรีโลกอมรมา                                    อภิวาทนาการ
อนึ่งข้าอัญชลี                                    พระฤาษีผู้ทรงญาณ
แปดองค์เธอมีฌาน                             โดยรอบรู้ในโรคา
ไหว้คุณอิศวเรศ                                  ทั้งพรหมเมศทุกชั้นฟ้า
สาปสรรค์ซึ่งหว้านยา                           ประทานทั่วโลกธาตรี
ไหว้ครูกุมารภัจ                          ผู้เจนจัดในคัมภีร์
เวชศาสตรบรรดามี                                ให้ทานทั่วแก่นรชน
ไหว้ครูผู้สั่งสอน                                    แต่ปางก่อนเจริญผล
ล่วงลุนิพพานดล                                   สำเร็จกิจประสิทธิ์พร

๑   จะกล่าวคัมภีร์ฉัน                         ทศาสตรบรรพ์ที่ครูสอน
เสมอดวงทินกร                                         แลดวงจันทร์กระจ่างตา

๒    ส่องสัตว์ให้สว่าง                        กระจ่างแจ้งในมรรคา
หมอนวดแลหมอยา                                   ผู้เรียนรู้คัมภีร์ไสย์

๓    เรียนรู้ให้ครบหมด                      จนจบบทคัมภีร์ใน
ฉันทศาสตร์ท่านกล่าวไข                            สิบสี่ข้อจงควรจำ

๔    เป็นแพทย์นี้ยากนัก                   จะรู้จักซึ่งกองกรรม
ตัดเสียซึ่งบาปธรรม                                   สิบสี่ตัวจึ่งเที่ยงตรง

๕    เป็นแพทย์ไม่รู้ใน                      คัมภีร์ไสย์ท่านบรรจง
รู้แต่ยามาอ่าองค์                                        รักษาไข้ไม่เข็ดขาม

๖    บางหมอก็กล่าวคำ                      มุสาซ้ำกระหน่ำความ
ยกตนว่าตนงาม                                         ประเสริฐยิ่งในการยา

๗    บางหมอก็เกียจกัน                     ที่พวกอันแพทย์รักษา
บ้างกล่าวเป็นมารยา                                  เขาเจ็บน้อยว่ามากครัน

๘    บ้างกล่าวอุบายให้                      แก่คนไข้นั้นหลายพัน
หวังลาภจะเกิดพลัน                                   ด้วยเชื่อถ้อยอาตมา

๙    บางทีไปเยียนไข้                        บ  มีใครจะเชิญหา
กล่าวยกถึงคุณยา                                     อันตนรู้ให้เชื่อฟัง

๑๐    บางแพทย์ก็หลงเล่ห์                  ด้วยกาเมเข้าปิดบัง
รักษาโรคด้วยกำลัง                                    กิเลสโลภะเจตนา

๑๑    บางพวกก็ถือตน                       ว่าไข้คนอนาถา
ให้ยาจะเสียยา                                           บ  ห่อนลาภจะพึงมี

๑๒    บ้างถือว่าตนเฒ่า                        เป็นหมอเก่าชำนาญดี
รู้ยาไม่รู้ที                                                  รักษาได้ก็ชื่นบาน

๑๓    แก่กายไม่แก่รู้                         ประมาทผู้อุดมญาณ
แม้เด็กเป็นเด็กชาญ                                 ไม่ควรหมิ่นประมาทใจ

๑๔    เรียนรู้ให้เจนจัด                     จบจังหวัดคัมภีร์ไสย์
ตั้งต้นปฐมใน                                           ฉันทศาสตรดังพรรณนา

๑๕    ปฐมจินดาร์โชตรัต                 ครรภ์รักษาอไภยสันตา
…………………                    สิทธิสารนนท์ปักษี

๑๖    อติสารอะวะสาน                       มรณะญาณตามคัมภีร์
สรรพคุณรสอันมี                                        ธาตุบัญจบโรคนิทาน

๑๗    ฤดูแลเดือนวัน                        ยังนอกนั้นหลายสถาน
ลักษณะธาตุพิการ                                      เกิดกำเริบแลหย่อนไป

๑๘    ทั้งนี้เป็นต้นแรก                      ยกยักแยกขยายไข
กล่าวย่อแต่ชื่อไว้                                       ให้พึงเรียนตำรับจำ

๑๙    ไม่รู้คัมภีร์เวช                         ห่อนเห็นเหตุซึ่งโรคทำ
แพทย์เอ๋ยอย่างมคลำ                                จักขุมืด  บ  เห็นหน

๒๐    แพทย์ใดจะหนีทุกข์                ไปสู่สุขนิพพานดล
พิริยสติตน                                                ประพฤติได้จึ่งเป็นการ

๒๑    ศีลแปดแลศีลห้า                      เร่งรักษาสมาทาน
ทรงไว้เป็นนิจกาล                                     ทั้งไตรรัตน์สรณา

๒๒    เห็นลาภอย่าโลภนัก                 อย่าหาญหักด้วยมารยา
ไข้น้อยว่าไข้หนา                                       อุบายกล่าวให้พึงกลัว

๒๓    โทโสจงอดใจ                         สุขุมไว้อยู่ในตัว
คนไข้ยิ่งคร้ามกลัว                                     มิควรขู่ให้อดใจ

๒๔    โมโหอย่าหลงเล่ห์                   ด้วยกาเมมิจฉาใน
พยาบาทแก่คนไข้                                     ทั้งผู้อื่นอันกล่าวกล

๒๕    วิจิกิจฉาเล่า                           จงถือเอาซึ่งครูตน
อย่าเคลือบแคลงอาการกล                         เห็นแม่นแล้วเร่งวางยา

๒๖    อุทธัจจังอย่าอุทธัจ                   เห็นถนัดในโรคา
ให้ตั้งตนดังพระยา                                     ไกรสรราชเข้าราวี

๒๗    อนึ่งโสดอย่าซบเซา                 อย่าง่วงเหงานั้นมิดี
เห็นโรคนั้นถอยหนี                                    กระหน่ำยาอย่าละเมิน

๒๘    ทิฏฐิมาโนเล่า                        อย่าถือเอาซึ่งโรคเกิน
รู้น้อยอย่าด่วนเดิน                                     ทางใดรกอย่าครรไล

๒๙    อย่าถือว่าตนดี                         ยังจะมียิ่งขึ้นไป
อย่าถือว่าตนใหญ่                                      กว่าเด็กน้อยผู้เชี่ยวชาญ

๓๐    ผู้ใดรู้ในทางธรรม                   ให้ควรยำอย่าโวหาร
เรียนเอาเป็นนิจกาล                                  เร่งนบนอบให้ชอบที

๓๑    ครูพักแลครูเรียน                     อักษรเขียนไว้ตามมี
จงถือว่าครูดี                                             เพราะได้เรียนจึ่งรู้มา

๓๒    วิตักโกนั้นบทหนึ่ง                   ให้ตัดซึ่งวิตักกา
พยาบาทวิหิงสา                                         กามราคในสันดาน

๓๓    วิจาโรให้พินิจ                         จะทำผิดฤาชอบกาล
ดูโรคกับยาญาณ                                       ให้ต้องกันจะพลันหาย

๓๔    หิริกังละอายบาป                     อันยุ่งหยาบสิ้นทั้งหลาย
ประหารให้เสื่อมคลาย                               คือตัดเสียซึ่งกองกรรม

๓๕    อโนตัปปังบทบังคับ                 บาปที่ลับอย่าพึงทำ
กลัวบาปแล้วจงจำ                                     ทั้งที่แจ้งจงเว้นวาง

๓๖    อย่าเกียจแก่คนไข้                   คนเข็ญใจขาดในทาง
ลาภผลอันเบาบาง                                     อย่าเกียจคนพยาบาล

๓๗    เท่านี้กล่าวไว้ใน                     ฉันทศาสตรเป็นประธาน
ลอนกล่าวให้วิตถาร                                   ใครรู้แท้นับว่าชาย

๓๘    อนึ่งจะกล่าวสอน                     กายนครมีมากหลาย
ประเทียบเปรียบในกาย                             ทุกหญิงชายในโลกา

๓๙    ดวงจิตคือกระษัตริย์                 ผ่านสมบัติอันโอฬาร์
ข้าศึกคือโรคา                                           เกิดเข่นฆ่าในกายเรา

๔๐    เปรียบแพทย์คือทหาร              อันชำนาญรู้ลำเนา
ข้าศึกมาอย่าใจเบา                                   ห้อมล้อมรอบทุกทิศา

๔๑    ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้                คือดวงใจให้เร่งยา
อนึ่งห้ามอย่าโกรธา                                   ข้าศึกมาจะอันตราย

๔๒    ปิตตํ คือ วังหน้า                      เร่งรักษาเขม้นหมาย
อาหารอยู่ในกาย                                        คือเสบียงเลี้ยงโยธา

๔๓    หนทางทั้งสามแห่ง                 เร่งจัดแจงอยู่รักษา
ห้ามอย่าให้ข้าศึกมา                                  ปิดทางได้จะเสียที

๔๔    อนึ่งเล่ามีคำโจทก์                  กล่าวยกโทษแพทย์อันมี
ปรีชารู้คัมภีร์                                             เหตุฉันใดแก้มิฟัง


๔๕    คำเฉลยแก้ปุจฉา                   รู้รักษาก็จริงจัง
ด้วยโรคเหลือกำลัง                                    จึ่งมิฟังในการยา

๔๖    เมื่ออ่อนรักษาได้                     แก่แล้วไซร้ยากหนักหนา
ไข้นั้นอุปมา                                              เหมือนเพลิงป่าไหม้ลุกลาม

๔๗    เป็นแพทย์พึงสำคัญ                โอกาสนั้นมีอยู่สาม
เคราะห์ร้ายขัดโชคนาม                             บางทีรู้เกินรู้ไป

๔๘    บางทีรู้มิทัน                           ด้วยโรคนั้นใช่วิสัย
ตน  บ  รู้ทิฏฐิใจ                                        ถือว่ารู้ขืนกระทำ

๔๙    จบเรื่องที่ตนรู้                        โรคนั้นสู้ว่าแรงกรรม
ไม่สิ้นสงสัยทำ                                           สุดมือม้วยน่าเสียดาย

๕๐    บางทีก็มีชัย                            แต่ยาให้โรคนั้นหาย
ท่านกล่าวอภิปราย                                     ว่าชอบโรคนั้นเป็นดี

๕๑    ผู้ใดใครทำชอบ                      ตามระบอบพระบาลี
กุศลผลจะมี                                              อเนกนับเบื้องหน้าไป

๕๒    เรียนรู้ให้แจ้งกระจัด               เห็นโรคชัดอย่าสงสัย
เร่งยากระหน่ำไป                                      อย่าถือใจว่าลองยา

๕๓    จะหนีหนีแต่ไกล                     ต่อจวนใกล้จะมรณา
จึ่งหนีแพทย์นั้นหนา                                   ว่ามิรู้ในท่าทาง

๕๔    อำไว้จนแก่กล้า                      แพทย์อื่นมาก็ขัดขวาง
ต่อโรคเข้าระวาง                                       ตรีโทษแล้วจึ่งออกตัว

๕๕    หินชาติแพทย์เหล่านี้               เวรามีมิได้กลัว
ทำกรรมนำใส่ตัว                                       จะตกไปในอบาย

๕๖    เรียนรู้คัมภีร์ไสย                      สุขุมไว้อย่าแพร่งพราย
ควรกล่าวจึ่งขยาย                                      อย่ายื่นแก้วแก่วานร

๕๗    ไม่รักจะทำยับ                        พาตำรับเที่ยวขจร
เสียแรงเป็นครูสอน                                   ทั้งบุญคุณก็เสื่อมสูญ

๕๘    รู้แล้วเที่ยวโจทย์ทาย              แกล้งภิปรายถามเค้ามูล
ความรู้นั้นจะสูญ                                        เพราะสามหาวเป็นใจพาล

๕๙    ผู้ใดจะเรียนรู้                         พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์
เที่ยงแท้ว่าพิสดาร                                     ทั้งพุทธไสยจึ่งควรเรียน

๖๐    แต่สักเป็นแพทย์ได้                  คัมภีร์ไสยไม่จำเนียร
ครูนั้นไม่ควรเรียน                                     จะนำตนให้หลงทาง

๖๑    เราแจ้งคัมภีร์ฉัน                     ทศาสตร์อันบุราณปาง
ก่อนกล่าวไว้เป็นทาง                                 นิพพานสุศิวาไลย

๖๒    อย่าหมิ่นว่ารู้ง่าย                      ตำรับรายอยู่ถมไป
รีบด่วนประมาทใจ                                     ดังนั้นแท้มิเป็นการ

๖๓    ลอกได้แต่ตำรา                        เที่ยวรักษาโดยโวหาร
อวดรู้ว่าชำนาญ                                         จะแก้ไขให้พลันหาย

๖๔    โรคคือครุกรรม                       บรรจบจำอย่าพึงทาย
กล่าวเล่ห์อุบายหมาย                                 ด้วยโลภหลงในลาภา

๖๕    บ้างจำแต่เพศไข้                     สิ่งเดียวได้สังเกตมา
กองเลือดว่าเสมหา                                    กองวาตาว่ากำเดา

๖๖    คัมภีร์กล่าวไว้หมด                   ไยมิจดมิจำเอา
ทายโรคแต่โดยเดา                                   ให้เชื่อถือในอาตมา

๖๗    รู้น้อยอย่าบังอาจ                      หมิ่นประมาทในโรคา
แรงโรคว่าแรงยา                                      มิควรถือว่าแรงกรรม

๖๘    อนึ่งท่านได้กล่าวถาม               อย่ากล่าวความบังอาจอำ
เภอใจว่าตนจำ                                          เพศไข้นี้อันเคยยา

๖๙    ใช่โรคสิ่งเดียวดาย                  จะพลันหายในโรคา
ต่างเนื้อก็ต่างยา                                        จะชอบโรคอันแปรปรวน

๗๐    บางทีก็ยาชอบ                         แต่เคราะห์ครอบจึ่งหันหวน
หายคลายแล้วทบทวน                                จะโทษยาก็ผิดที

๗๑    อวดยาครั้นให้ยา                     เห็นโรคาไม่ถอยหนี
กลับกล่าวว่าแรงผี                                     ที่แท้ทำไม่รู้ทำ

๗๒    เห็นลาภจะใคร่ได้                   นิยมใจไม่เกรงกรรม
รู้น้อยบังอาจทำ                                         โรคระยำเพราะแรงยา

๗๓    โรคนั้นคือโทโส                      จะภิยโยเร่งวัฒนา
แพทย์เร่งกระหน่ำยา                                 ก็ยิ่งยับระยำเยิน

๗๔    รู้แล้วอย่าอวดรู้                       พินิจดูอย่าหมิ่นเมิน
ควรยาหรือยาเกิน                                      กว่าโรคนั้นจึ่งกลับกลาย

๗๕    ถนอมทำแต่พอควร                 อย่าโดยด่วนเอาพลันหาย
ผิโรคนั้นกลับกลาย                                    จะเสียท่าด้วยผิดที

๗๖    บ้างได้แต่ยาผาย                     บรรจุถ่ายจนถึงดี
เห็นโทษเข้าเป็นตรี                                   จึ่งออกตัวด้วยตกใจ

๗๗    บ้างรู้แต่ยากวาด                     เที่ยวอวดอาจไม่เกรงภัย
โรคน้อยให้หนักไป                                   ดังก่อกรรมให้ติดกาย
                
                    ศัพท์ภาษาไทยว่า "แพทย์" มาจากศัพท์สันสกฤต "ไวทย" แปลว่า ผู้รู้พระเวท หมายถึงผู้รู้วิชาการต่างๆ ที่ประมวลอยู่ในคัมภีร์พระเวท (คัมภีร์พระเวทฉบับหนึ่งคือ อถรรพเวท เป็นต้นกำเนิดของตำราการแพทย์ และการรักษาโรคด้วยสมุนไพร) และผู้รู้วิชาการรักษาโรค เป็นที่นับถือยกย่องและมีบทบาทมากในสังคม ต่อมาคำว่า "ไวทย" จึงมีความหมายเจาะจงหมายถึงผู้รู้วิชาการรักษาโรค
ตำราแพทย์ของไทยที่มีมาแต่โบราณ มีร่องรอยของอิทธิพลความเชื่อ และหลักปฏิบัติต่างๆ ที่ปรากฏในตำราแพทย์ของอินเดีย ดังจะเห็นได้จาก คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เป็นตัวอย่าง
ในความหมายกว้าง "ฉันทศาสตร์" คงจะหมายถึงตำราแพทย์โดยรวม
ผู้เรียบเรียงให้ความสำคัญแก่ "พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์" ว่ามีเนื้อหาเป็นหลักของตำราแพทย์ทั้งหมด "ฉันทศาสตร์" จึงมีความหมายครอบคลุมตำราต่างๆ เช่น "ปฐมจินดาร์ โรคนิทาน อภัยสันตา ตักกะศิลา" เป็นต้น

วิธีถนอมดวงตา

เขียนโดย pespenzie ที่ 07:40 0 ความคิดเห็น
วันนี้ขอปิดท้ายด้วยวิธีการถนอมสายตามาฝากทุกคนกันคะ เพราะเรารู้ว่าคุณ หนักกับsocial network เกิ๊น ^^

วิธีถนอมดวงตา 7 ประการ

1. ครอบดวงตา ด้วยการโค้งอุ้งมือทั้งสองครอบดวงตาไว้เฉย ๆ ระวังอย่าให้อุ้งมือกดทับดวงตา นึกถึงบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เช่น วันพักผ่อนสุดสัปดาห์ตามป่าเขาหรือชายทะเลอยู่ในท่านี้สักประมาณ 10นาที

2. ต่อจากท่าที่ 1 ยังคงครอบดวงตาอยู่แล้ว สร้างจินตภาพว่าตนเองกำลังมองวัตถุบางอย่างที่มีสีสันสดใส มีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ชัดเจน เช่น มองเห็นดอกเบญจมาศสีเหลืองสวย เห็นกลีบดอกแต่ละกลีบละเอียดชัดเจน สายตาที่คมชัดจากจินตนาการของเราเองจะช่วยเยียวยาสายตาจริง ๆ ของเราได้เป็นอย่างดี

3. กวาดสายตา มองแบบไม่ต้องจ้อง เพราะคนที่สายตาสั้นมักจะจ้องและเขม้นตา กวาดสายตาไปตามวัตถุที่อยู่ไกล ๆ ทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ทำให้ตาของเราได้ผ่อนคลาย

4. กะพริบตา ฝึกนิสัยให้กะพริบตา 1-2 ครั้ง ทุก 10 วินาที ช่วยให้แก้วตาสะอาดและมีน้ำเหลืองหล่อเลี้ยง โดยเฉพาะคนที่สวมแว่นตาสะอาดและมีน้ำหล่อเลี้ยง โดยเฉพาะคนที่สวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ยิ่งจำเป็น

5. โฟกัสภาพที่ใกล้และไกล เหยียดแขนซ้ายไปให้ไกลที่สุด ตั้งนิ้วชี้มือซ้ายขึ้นเพื่อเป็นจุดโฟกัส ขณะเดียวกันตั้งนิ้วชี้มือขวา ให้ห่างจากใบหน้า สัก 3 นิ้ว โฟกัสภาพที่แต่ละนิ้วสลับกันไปมา ทำบ่อย ๆ เมื่อโอกาสอำนวย

6. หลังตื่นนอนทุกเช้าให้ใช้มือวักน้ำชโลมดวงตาด้วยน้ำอุ่นสัก 20 ครั้ง สลับกับการวักน้ำเย็นชโลมดวงตาอีก 20 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนมาเลี้ยงดวงตาดีขึ้น การวักน้ำเย็นช่วยให้กล้ามเนื้อดวงตาและหนังตากระชับไม่หย่อนยาน ก่อนเข้านอนให้กวักน้ำชโลมดวงตาอีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้ชโลมด้วยน้ำเย็นก่อนแล้วตามด้วยน้ำอุ่น จะทำให้กล้ามเนื้อตาและหนังตาได้ผ่อนคลายก่อนเข้านอน

7. แกว่งตัว ยืนแยกเท้าเท่ากับช่วงไหล่ แกว่งตัวไปมาจากซ้ายไปขวา ถ่ายน้ำหนักตัวบนขาแต่ละข้างสลับไปมา สายตามองไปไกลๆ แต่ไม่ต้องจ้อง ปล่อยให้จุดที่เรามอง แกว่งไปมาซ้ายขวาตามการแกว่งตัว ท่านี้จะทำให้ดวงตาได้พัก และมีการปรับตัวดีขึ้น ทำบ่อย ๆ เมื่อมีโอกาส เปิดเพลงคลอไปด้วยก็ได้
 

จาก คุณ smarties

โครงการ 1อำเภอ 1ทุน รุ่น3

เขียนโดย pespenzie ที่ 07:33 0 ความคิดเห็น
                            UploadImage

หลังจากมีข่าว ออกมาเป็นระยะ ตั้งแต่ปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ขณะนี้ กระทรวงศึกษาธิการประกาศรับสมัครการคัดเลือกผู้เข้าร่วม
โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 อย่างเป็นทางการแล้วนะคะ โครงการนี้เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและเทียบเท่า ในแต่ละอำเภอ/เขต ทั่วประเทศ เพื่อกระจายโอกาสการศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศโดยเปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 9 -31 มกราคม 2555 ค่ะ
 
กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดเปิดการรับสมัครนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สายสามัญหรือสายอาชีพ ที่เรียนดี แต่มีรายได้น้อย ทั่วประเทศเข้ารับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 1 อำเภอ 1  ทุน รุ่นที่ 3 โดยผู้ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการสามารถขอรับใบสมัครได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทุกเขตพื้นที่การศึกษา หรือดาวน์โหลดได้จากเอกสารประกอบข่าว
 
คุณสมบัติของผู้สมัคร
- มีอายุไม่เกิน 25 ปี
- เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้น ม. 6 หรือเทียบเท่า สายสามัญ หรือสายอาชีพ
- มี GPAX  ไม่ต่ำกว่า 3.00
 
กำหนดการรับสมัคร
เปิดรับสมัคร  9 - 31 มกราคม 2555
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ   6 กุมภาพันธ์  2555
สอบข้อเขียน (วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ)  12 กุมภาพันธ์ 2555
ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียน  20 กุมภาพันธ์ 2555
สอบสัมภาษณ์  26  กุมภาพันธ์  2555
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์รับทุน  9 มีนาคม 2555
 
ใบสมัครเข้าร่วมโครงการและรายละเอียดและเงื่อนไขการรับสมัครเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดได้จากเอกสารประกอบข่าวนะคะ
 
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
เบอร์โทรศัพท์กลาง             0 2628 5646        ,             0 2628 5648                  0 2281 6370      ,            0 2281 0565           
โทรสาร             0 2281 0953            
E-mail : bicinfo@bic.moe.go.th
 www.moe.go.th หรือwww.bic.moe.go.th หรือ www.odos.moe.go.th 
credit : Enn
 

yumyump Copyright © 2011 Designed by Ipietoon Blogger Template Sponsored by web hosting