วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

เขียนโดย pespenzie ที่ 04:18
Paya Sataban (:
ต้น พญาสัตบรรณ
            

ดอกพญาสัตบรรณ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
Kingdom:Plantae
Division:Magnoliophyta
Class:Magnoliopsida
Order:Gentianales
Family:Apocynaceae
Tribe:Plumeriae
Subtribe:Alstoniinae
Genus:Alstonia
Species:A. scholaris
ชื่อวิทยาศาสตร์
Alstonia scholaris
L. R. Br.

 เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ลักษณะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็กๆ สีขาวปนน้ำตาลกรดดูจะมียางสีขาวลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้นๆ ใบเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น ใบสีเขียวถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลมขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง (สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดสมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ) ยอดของลำต้นดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่มดอกมีสีขาวอมเหลือง ผลเป็นฝักยาว ลักษณะเป็นเส้นๆ มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้น
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ทั่วไป

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ สัตบรรณ ตีนเป็ด พญาสัตบรรณ (ภาคกลาง) ยางขาว(ลำปาง) ตีนเป็ดขาว(ยะลา) หัสบรรณ (กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris (L.) R.Br.



วงศ์ APOCYNACEAE

ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะโซโลมอนและมาเลเซีย และป่าดงดิบภาคใต้ ตะวันออกเฉียงใต้ และ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย(ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น,2540)

การกระจายพันธุ์ ในประเทศไทยพบขึ้นกระจัดกระจายอยู่ห่างๆกันทุกภาคในประเทศ เช่นที่ในป่า ดงดิบทางภาคใต้ ในป่าพรุที่น้ำท่วมขังทั่วประเทศ หรือในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบตามริมลำห้วยในป่าเบญจพรรณ ชื้นที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 1,000 เมตร(จำลองและคณะ,2534)

ราก เป็นระบบรากแก้ว มีการแตกแขนงกระจายไปรอบๆลำต้น รากมีความเหนียวและ แข็งมากเมื่อมีอายุมากขึ้น

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 35 – 40 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เมื่อปลูกจนกระทั่งมี อายุได้ 6 เดือน จะสูงประมาณ 1.5 เมตร เมื่ออายุครบ 1 ปี จะสูงเกิน 2 เมตรขึ้นไป โคนต้นมักจะเป็นพูพอน ลำต้นเป็นร่องตามยาว เปลือกสีเทาหรือสีน้ำตาลถึงน้ำตาล แดง ค่อนข้างหนาแต่เปราะเรียบหรือแตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ด ไม่เป็นระเบียบ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล หรือเหลือง มีเส้นสีแดงตามยาว มีน้ำยางสีขาวทุกส่วน เรือนยอดของต้นเล็กรูปเจดีย์ ต้นใหญ่เรือนยอดค่อนข้างแบน หรือเป็นชั้นๆกลมทึบ แตกกิ่งออกจากรอบต้น ณ จุดเดียวกันรูปทรงต้นสวยงามและโดดเด่นมาก เนื้อไม้ อ่อน เสี้ยนตรง เนื้อหยาบแต่สม่ำเสมอ ค่อนข้างเหนียว กิ่งหักง่าย แตกกิ่งก้านสาขา มากและเป็นชั้นๆ แตกออกรอบข้อ

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นวงรอบๆข้อวงละ 5 – 9 ใบ แผ่นใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ถึง รูปหอก แกมรูปขอบขนาน หรือรูปมนแกมรูปบรรทัด กว้าง 2 – 6.5 เซนติเมตร ยาว 7 – 20 เซนติเมตร ปลายใบมักแหลมเป็นติ่งเล็กน้อย โคนใบสอบเข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีน้ำตาลอ่อนๆ ใบแก่ด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีขาวนวล ก้านใบยาว ประมาณ 1.5 – 3 เซนติเมตร เส้นใบถี่ขนานกันจำนวน 30 – 34 คู่ ทำมุมฉากกับ เส้นกลางใบและขอบใบ เส้นใบแต่ละเส้นโค้งจรดเส้นถัดไปและแยกถึงขอบใบอีกเส้นย่อยหนึ่ง

ดอก ดอกสัตบรรณจะออกรวมกันเป็นกระจุกสีขาวช่อใหญ่ตรงปลายกิ่ง และในแต่ละช่อนั้นจะแยก ออกเป็นก้านดอกอีก ลักษณะการแยกคล้ายกับซี่ร่ม ดอกจะมีจำนวนมากติดรวมกันอยู่เป็น กระจุกกลมๆ ออกเป็นกลุ่มบนช่อที่แตกกิ่งก้านออกจากจุดเดียวกัน เหมือนฉัตร 3 ชั้น แต่ละชั้น มีกลุ่มดอกย่อย 8 กลุ่มๆละ 8 – 10 ดอกย่อยๆ แต่ละดอกมีอยู่ 5 กลีบ พับกลับ มีรูหน้าดอก ด้านหน้า สีขาวอมเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบมน ปลายแยกเป็นอิสระ 5 แฉก และมีขน เกสรกลางดอกมี 5 อัน เมื่อดอกย่อยบานมี เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยกลมเกลี้ยงสีเขียว ยาว 2 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม ดอกบานอยู่ได้หลายวัน ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองฟางข้าว ส่วนใหญ่ออกดอกเต็มต้น ในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง มกราคม

ผลและเมล็ด ผลเป็นฝักออกเป็นฝักคู่ รูปฝักกลมยาวเรียวห้อยลงสู่ดิน และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 2 – 5 มิลลิเมตร ยาว 30 – 40 เซนติเมตร เปลือกผลเขียวเป็นมัน ผลแก่แตกตาม รอยประสานเป็น 2 ซีก มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก รูปค่อนข้างกลมหรือรียาวประมาณ 7 มิลลิเมตร มีขน ยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง
 



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

yumyump Copyright © 2011 Designed by Ipietoon Blogger Template Sponsored by web hosting