วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

MY PLANT :)

เขียนโดย pespenzie ที่ 08:53 0 ความคิดเห็น





ความคืบหน้าของต้นไม้**
ต้นพริก สวยสดงดงาม :D
week : 3

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

เพลง แอบชอบ --ละอองฟอง

เขียนโดย pespenzie ที่ 22:56 0 ความคิดเห็น

วันนี้แอดมินเอาเพลงเพราะๆมากฝากกันค่ะ :)

แอบชอบ:)
Intro : C Bm Am G F Em Dm G

C           Bm     Am  G        F    Em Dm G
เช้าแล้ววันนี้ยังไม่สาย ตื่นมาก็ร้องเพลงถึงเธอ 
C                 Bm         Am  G            F Em  Dm               G        C
ท่องเอาไว้ตัวโน๊ตอย่าให้หาย กลั่นมาจากหัวใจ   ขอให้เธอโปรดฟังนะคนดี 
C        Bm        Am G       F Em     Dm         G
ไม่รู้ตอนนี้เธออยู่ไหน ไม่รู้ว่าหัวใจ ของเธอคิดถึงใคร 
C         Bm        Am G         F Em Dm            G        C-Bm-Am-G
รู้ไหมว่าฉันก็หวั่นไหว  ก็ภายในหัวใจ  ฉันคิดถึงแต่เธอนะคนดี 
F          E              A7
ในความจริงฉันไม่อาจรู้เลย 

    D                    Ddim             Daug                       D7
* แม้ว่าเธอนั้นไม่รู้จักฉันสักหน่อย แต่ฉันก็แอบชอบเธอไม่ใช่น้อย 
               G            D/F#         Em            Asus4
หัวใจฉันยังเฝ้ารอ และเฝ้าคอย เฝ้าคอยให้เธอหันมา
          D                           Ddim               Daug                       D7
บอกกับฉันสักนิดได้ไหมว่าเธอก็คิดอยู่หน่อยๆ ว่าเธอก็แอบชอบฉันไม่ใช่น้อย
               G            D/F#        Em            A7                D[G-A7]
ให้ใจฉันได้ชื่นฉ่ำ เมื่อเฝ้าคอย เฝ้าคอยให้เธอหันมา (มองฉันซะที)         (ในความจริง)

C        Bm         Am  G        F Em       Dm       G
ไม่รู้ตอนนี้เธออยู่ไหน    ไม่รู้ว่าหัวใจ   ของเธอนั้นมีใคร
C        Bm         Am  G          F Em    Dm          G            C-Bm-Am-G
รู้ไหมว่าฉันก็หวั่นไหว    ก็ภายในหัวใจ    ของฉันมีแต่เธอนะคนดี
F          E              A7
ในความจริงฉันไม่อาจรู้เลย

( * )

Solo: C Bm Am G F Em Dm G// C Bm Am G F Em Dm G// C-Bm-Am-G

F          E              A7
ในความจริงฉันไม่อาจรู้เลย

( * , * )

              D/F#m-G-A 
มองฉันซะที

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

"10 วิธีในการคลายความเครียด"

เขียนโดย pespenzie ที่ 06:53 0 ความคิดเห็น
"10 วิธีในการคลายความเครียด"


1. ฟังเพลง หามุมสงบ

นั่งปล่อยใจให้ล่องลอยอย่างเป็นธรรมชาติ แล้วฟังเพลง เบา ๆ โดยเฉพาะเพลงจำพวก Meditation ซึ่งเดี๋ยวนี้มีให้เลือกหลากหลายแบบตามความต้องการ ทั้งเสียงของดนตรี บรรเลงหรือเสียงธรรมชาติ จำพวกเสียงคลื่น..เสียงน้ำตก..เสียงนกร้อง รับรองว่าจะช่วยสร้างสมาธิให้กลับคื่นสู่สมองและจิตใจได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ในช่วงระยะเวลาเพียงสั้นๆ เชียวล่ะ



2. ฉายเดี่ยวดูภาพยนตร์

ขอแนะนำให้ฉายเดี่ยวแล้วตีตั๋วดูหนังดีๆ สักรอบ เพราะการไปดูหนังเนี่ยเป็นวิธีที่เวิร์คที่สุดที่จะปลดปล่อยความรู้สึกให้ ล่องลอยอย่างเป็นอิสระไม่จมอยู่กับปัญหา แถมระบายความอัดอั้นตันใจได้อย่างเห็นผล แต่ต้องถามตัวเองก่อนนะว่ากำลังอยู่ในอารมณ์ไหน เช่น ถ้าอยากร้องไห้ก็ไปดูหนังรักเศร้าเคล้าน้ำตาแล้วก็ร้องไห้ออกมาซะให้พอ หรือถ้าเครียดจัดก็จงไปดูหนังตลกแล้วหัวเราะให้หลุดโลกไปเลย




3. โทรหาเพื่อนรู้ใจ

อย่าคิดว่าตัวเองจะแก้ปัญหาทุกปัญหาได้ดีไปซะหมด หัวใจสาวมั่นแม้จะแกร่งเพียงใดก็ยังต้องการที่พึ่งพิงเสมอ ยกหูโทรศัพท์หาเพื่อนรู้ใจสันคนแล้วระบายความรู้สึกให้เพื่อนได้รับรู้ เพราะการมีคนรับฟังและให้คำปรึกษา จะทำให้ชีวิตที่เอียงกะเท่เร่เริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น อย่างน้อยก็ยังรู้สึกว่า ไม่ได้แบกปัญหาอยู่คนเดียวในโลกไงล่ะ



4. เขียนไดอารี่

การเขียนไดอารี่เปรียบเสมือนการเปิดประตูอารมณ์ที่ปล่อยให้ความอัดอั้นตันใจต่างๆ ได้ไหลลงสู่หน้ากระดาษอย่างเป็นอิสระและเป็นส่วนตัวที่สุด เพราะการถ่ายเทความรู้สึกในใจออกมา จะทำให้จิตใจปรับสมดุลได้เร็วขื้น อีกทั้งระหว่างการเขียนไดอารี่นั้นยังถือเป็นการทบทวนความรู้สึกตัวเองที่ดี ที่สุดด้วย ส่วนข้อดีสุดเลิศอีกข้อก็คือ ไดอารี่เป็นเพื่อนสนิทที่ไว้ใจได้ที่สุด เพราะรับฟังเราเสมอและไม่เคยเอาความลับไปบอกต่อไงล่ะ


5. พลังแห่งการสัมผัส

ลองมองหาใครสักคนช่วยโอบกอดหรือสัมผัสเบา ๆ เวลารู้สึกเหนื่อยล้าดูสิ เพราะร่างกายคนเราเวลาถูกสัมผัสเนี่ย จะทำให้เกิดฮอร์โมนที่ชื่อ "อ๊อกซี่โทชิน" ซึ่งมีผลในการลดระดับความเหนื่อยและความเครียด ช่วยให้ร่างกายที่กำลังอ่อนล้ารู้สึกผ่อนคลายได้อย่างไม่น่าเชื่อ




6. สร้างอารมณ์ขัน

พยายามมองหาเพื่อนที่มีอารมณ์ขันช่วยกระตุ้นจิตใจที่แสนห่อเหี่ยวให้หัวเราะได้อีกครั้ง เพราะคนที่หัวเราะง่ายจะมีสุขภาพจิตที่ดี เนื่องจากการหัวเราะจะช่วยลดความดันโลหิตและระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลลง (ฮอร์โมนคอร์ติซอล = ฮอร์โมนแสดงความเหนื่อยล้าในกระแสเลือด) แถมยังช่วยเสริมสร้างระดับของ "อิมโมโนโกลบูลินเอ" ซึ่งเป็นสารแอนตี้บอดี้ที่สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายอีกด้วยนะ เพราะฉะนั้นหัวเราะเข้าไว้ แล้วจะดีเอง


7. สูดกลิ่นหอม

รู้หรือเปล่าว่า...กลิ่นหอมของดอกไม้นานาพันธุ์มีผลในการช่วยปลุกประสาทสัมผัสให้สดชื่นตื่นตัว แถมยังกระตุ้นพลังงานในจิตใจได้เป็นอย่างดี เวลาเครียด ๆ ก็ลองสูดกลิ่นหอมของดอกไม้สิ อย่างกลิ่นกุหลาบ มะลิ ลาเวนเดอร์ หรือจะหยดน้ำมันหอมระเหยในน้ำอุ่นกำลังดี แล้วนอนแช่ตัวให้เพลินสักครึ่งชั่วโมงก็ได้ กลิ่นหอมจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้อย่างบอกไม่ถูกเชียวล่ะ



8. ไปตากอากาศ

หาเวลาหลบไปสูดอากาศบริสุทธิ์กับชีวิตท่ามกลางธรรมชาติสักพัก สิ หายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ ปล่อยสมองให้ว่างที่สุด แล้วก็นอนให้มากที่สุดเท่าที่อยากจะนอน เพราะบางทีความรู้สึกเหนื่อยล้าและหดหู่แบบไม่ทราบสาเหตุเนี่ยมันมาจาก ชีวิตที่ยุ่งเหยิงจนเกินไป เพราะฉะนั้นหลบไปนอนตากน้ำค้างดูดาวเสียบ้าง หัวใจจะได้ชาร์จพลังได้ดีขึ้น



9. หาสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน

ลองหาสัตว์เลี้ยงสักตัวมาเป็นเพื่อนเล่นก็ไม่ เลวนะ เพราะการให้เวลากับสัตว์เลี้ยงตัวโปรด คุยเล่น หยอกล้อกับมันเสียบ้าง จะช่วยให้จิตใจอันแสนจะฟุ้งซ่าน สงบลงได้ แถมรู้จักการให้และมองโลกในแง่ดีมากขึ้นอีกต่างหาก ที่สำคัญยังช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วยนะ



10. จินตนาการแสนสุข

อีกทางเลือกสำหรับการบรรเทาความหดหู่ในส่วนลึก เป็นการดึงตัวเองออกจากโลกปัจจุบัน ทำได้โดยหลับตาแล้วหายใจลึก ๆ จากนั้นก็สร้างจินตนาการถึงความฝันที่วาดหวังเอาไว้ หรือแม้แต่ความหลังอันแสนสุขที่เคยมีการดึงความสุขจากจินตนาการมาใช้จะ ทำ ให้เกิดพลังสร้างสรรค์ในหัวใจ และยังช่วยสลายความเครียดข้างในได้เป็นอย่างดี ทำแบบนี้เงียบๆ สัก 5 นาที รับรองรู้สึกดีแบบทันตาเห็น


แหล่งข้อมูล : วาไรตี้ทูเดย์

การใช้ If clause (4 แบบ)

เขียนโดย pespenzie ที่ 06:06 0 ความคิดเห็น




การใช้ If (4 แบบ)
แต่ละตำราก็จะเรียกไม่ค่อยเหมือนกัน เอาง่ายๆ ละกันว่ามี 4 แบบ ไปจำว่า First condition, Second condition หรือ Third condition ก็ไม่ได้ช่วยให้เราเรียนรู้อะไร

แบบที่ 1 If + Present Simple, Present Simple
วิธีใช้ ใช้กับเหคุการณ์ที่เป็นความจริง
เช่น
If you heat water, it boils. (ถ้าคุณต้มน้ำ น้ำก็เดือด)
If you get here before seven, we can catch the early train. (ถ้าคุณมาถึงที่นี่ก่อน 7 โมง เราก็สามารถขึ้นรถไฟไปได้เร็ว)
I can’t drink alcohol if I have to drive. (ฉันไม่สามารถดื่มแอลกอฮอล์ถ้าฉันต้องขับรถ)

แบบที่ 2 If + Present Simple, Will + V1 วิธีใช้ ใช้กับเหคุการณ์ที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
เช่น
If I have enough money, I will go to Japan. (ถ้าฉันมีเงิน ฉันจะไปญี่ปุ่น)
If he is late, we will have to the meeting without him. (ถ้าเขามาสาย เราจะต้องเริ่มการประชุมโดยไม่มีเขา)
I won’t go outside if the weather is cold. (ฉันจะไม่ออกไปข้างนอกถ้าอากาศมันเย็น)
If I have time, I will help you. (ถ้าฉันมีเวลา ฉันจะช่วยคุณ)
If you eat too much, you will get fat (ถ้าคุณกินมากเกินไป คุณก็จะอ้วน)

แบบที่ 3 If + Past Simple, would + V1 (would แปลว่า น่าจะ) (Past Simple + V2)
วิธีใช้ ใช้กับเหคุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในปัจจุบัน หรือ อนาคต
เช่น
If I knew her name, I would tell you. (ถ้าฉันรู้ชื่อเธอ ฉันก็น่าจะบอกคุณ) [จริงๆ แล้วไม่รู้จักชื่อเธอ]
She would be safer if she had a car. (เธอน่าจะปลอดภัยกว่านี้ ถ้าเธอมีรถ) [จริงๆ แล้วเธอไม่มีรถ]
It would be nice if you helped me do the housework. [มันน่าจะดีถ้าคุณได้ช่วยฉันทำงานบ้านบ้าง] [จริงๆ แล้วเธอไม่ช่วยเลย]
If I were you, I would call her. (ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันน่าจะโทรหาเธอ) [จริงๆ แล้ว ฉันไม่ได้เป็นคุณ]
If I were you, I would not say that. (ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันก็ไม่น่าจะพูดเช่นนั้น) [จริงๆ แล้ว ฉันไม่ได้เป็นคุณ]

แบบที่ 4 If + Past perfect, would have + V3 (Past perfect -> Had + V3)
วิธีใช้ ใช้กับเหคุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในอดีต
เช่น
If you had worked harder, you would have passed your exam.  (ถ้าคุณขยันให้มากกว่านี้ คุณก็น่าจะสอบผ่าน) [จริงๆ แล้วสอบตกไปแล้ว]
If you had asked me, I would have told you. (ถ้าคุณถามฉัน ฉันก็น่าจะบอกคุณไปแล้ว) [จริงๆ แล้วคุณไม่ได้ถาม]
I would have been in big trouble if you had not helped me. (ฉันน่าจะมีปัญหาไปแล้ว ถ้าคุณไม่ได้ช่วยฉันไว้) [จริงๆ แล้วคุณช่วยฉันไว้]
If I had met you before, we would have been together. (ถ้าฉันพบคุณก่อนหน้านี้ เราก็น่าจะได้อยู่ด้วยกันไปแล้ว) [จริงๆ แล้วฉันพบคุณช้าไป]

ld not say that. (ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันก็ไม่น่าจะพูดเช่นนั้น) [จริงๆ แล้ว ฉันไม่ได้เป็นคุณ]



Thanks :http://eazyclass.com/2010/07/12/4-rules-of-if-claus/

พันธะเคมีในชีวิตประจำวัน

เขียนโดย pespenzie ที่ 06:03 0 ความคิดเห็น


พันธะเคมีในชีวิตประจำวัน
ยาที่มีแอสไพรินเป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทางเคมี คือ

แบบจำลองโมเลกุล ของแอสไพริน

จากสูตรโครงสร้างเราอาจสงสัยว่าทำไม
อะตอมของธาตุ ออกซิเจน คาร์บอน และ
ไฮโดรเจน ( O, C and H ) ถึงมารวมกันเกิดเป็น
สารประกอบได้ และอะไรที่ยึดอะตอมเหล่านั้น
ไว้ให้อยู่ในรูปโมเลกุล
ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมและคลอรีน
                                    โซเดียม (Na) เป็นธาตุโลหะสีเงิน มีสถานะเป็นของแข็งสามารถทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำและติดไฟได้
                                     คลอรีน(Cl) เป็นธาตุอโลหะมีสถานะเป็นแก๊สมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนและเป็นพิษ
    แต่เมื่อธาตุทั้งสองมาทำปฏิกิริยากัน เกิดเป็นสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) หรือเกลือแกงกลับไม่มีอันตราย และมนุษย์ยังสามารถบริโภคได้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แล้ว Na กับ Cl มาทำปฏิกิริยากันเกิดเป็น NaCl ได้อย่างไร ?
     
           ในการสร้างบ้านนั้นบางครั้งก็นำแผ่นไม้หลายๆแผ่นประกบกัน โดยช่างจะทำการตอกตะปูเพื่อยึดแผ่นไม้แต่ละแผ่นเข้าด้วยกันเฉกเช่นเดียวกับโมเลกุลซึ่งเกิดจากหลายๆอะตอมมารวมกัน ซึ่งแรงที่ยึดเหนี่ยวอะตอมเข้าด้วยกันเป็นโมเลกุลก็คือ
 พันธะเคมี

ชนิดของพันธะเคมี
พันธะภายในโมเลกุล
(intramolecular bond)
พันธะระหว่างโมเลกุล
(intermolecular bond)
พันธะโคเวเลนต์ (covalent bonds)
พันธะไฮโดรเจน (hydrogen bonds)
พันธะไอออนิก (ionic bonds)
แรงแวนเดอร์วาลส์ (Van der Waals forces)
พันธะโลหะ ( metallic bonds)
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล-ไอออน
(molecule-ion attractions)

การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย (Simple Harmonic Motion)

เขียนโดย pespenzie ที่ 05:56 0 ความคิดเห็น
การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย (Simple Harmonic Motion)

การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย
คือการที่วัตถุเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำรอยเดิม มักจะใช้สัญญลักษณ์ว่า SHM. ตัวอย่างของการเคลื่อนที่แบบนี้ได้แก่ การเคลื่อนที่ของวัตถุที่ถูกผูกติดไว้กับสปริงในแนวราบ แล้ววัตถุเคลื่อนที่ไปมาตามแรงที่สปริงกระทำต่อวัตถุ ซึ่งเขาจะศึกษาการเคลื่อนที่นี้จากรูปที่ 1
ในรูปที่ 1a ตำแหน่ง x = 0 เป็นตำแหน่งสมดุลของปริง หรือ เป็นตำแหน่งที่สปริงมีความยาวตามปกติ ณ ตำแหน่งนี้สปริงจะไม่ส่งแรงมากระทำต่อวัตถุ ในรูปที่ 1a นี้มีวัตถุมวล m ผูกติดกับสปริง วางอยู่บนพื้นที่ซึ่งไม่มีแรงเสียดทาน ที่ตำแหน่งซึ่งปริงยืดออกจากความยาวปกติเป็นระยะทาง A สปริงจะออกแรงดึงวัตถุมวล m กลับมาอยู่ในตำแหน่งสมดุล x = 0 เรียกแรงที่สปริงกระทำต่อวัตถุนี้ว่าแรงดึงกลับ (Restoring force) ถ้า F เป็นแรงดึงกลับนี้จะได้ว่า
F = -kx -----(1)
แรงดึงกลับมีเครื่องหมายลบ เพราะทิศทางของเวกเตอร์ของแรงกับเวกเตอร์ของการขจัด x มักจะตรงข้ามกันเสมอ ค่า k คือค่านิจของสปริง (spring constant) ในรูปที่ 1 นี้ได้กำหนดให้ทิศทางขวาเป็นบวก ดังนั้นในรูป 1a ตำแหน่ง x = A จึงเป็นบวก ในขณะที่ทิศทางของแรงดึงกลับเป็นลบ และเนื่องจากวัตถุเริ่มเคลื่อนที่ที่ x = A ความเร็วของวัตถุจึงเป็นศูนย์
เมื่อปล่อยให้วัตถุเคลื่อนที่ตามแรงของสปริง วัตถุจะเคลื่อนที่มาทางซ้าย และในรูปที่ 1b วัตถุผ่านตำแหน่ง x = 0 หรือตำแหน่งสมดุลซึ่งตำแหน่งนี้ แรงที่สปริงกระทำต่อวัตถุจะเป็นศูนย์ แต่อัตราเร็วของวัตถุจะมากที่สุด โดยทิศของความเร็วจะเป็นจากขวาไปซ้าย หรือความเร็วเป็นลบ เนื่องจากพื้นไม่มีแรงเสียดทาน และสปริงก็ไม่ออกแรงมากกระทำต่อวัตถุ ดังนั้นที่ตำแหน่ง x = 0 นี้ วัตถุจึงสามารถรักษาสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎข้อที่ 1 ของนิวตันไว้ได้ วัตถุจึงยังคงสามารถเคลื่อนที่ต่อไปทางซ้ายได้
ในขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้ายนั้น วัตถุก็จะผลักให้สปริงหดสั้นไปจากความยาวเดิมด้วย ดังนั้นสปริงจะพยายามออกแรงดึงกลับไปกระทำต่อวัตถุ เพื่อให้ตัวเองกลับไปสู่ความยาวปกติอีก จนในรูปที่ 1 C แสดงถึงขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้ายมากที่สุด ความเร็วของวัตถุจะเป็นศูนย์ทิศของแรงดึงกลับจากซ้ายไปขวา หรือเป็นบวก เวกเตอร์ของการขจัดของวัตถุมีทิศจากขวาไปซ้าย และมีขนาดเป็น A ดังนั้นตำแหน่งของวัตถุขณะนี้จึงเป็น x = -A มีข้อน่าสังเกตว่า ขนาดของการขจัดมากที่สุดของวัตถุไม่ว่าจะเป็นทางซ้ายหรือขวาจะเท่ากัน คือเป็น a เนื่องจากในรูป 1c นี้มีแรงมากระทำต่อวัตถุเพียงแรงเดียว คือแรงจากสปริง ซึ่งมีทิศไปทางขวา วัตถุจึงเคลื่อนที่กลับไปทางขวาด้วยอิทธิพลของแรงนี้
รูปที่ 1
ในรูป 1d วัตถุกลับมาที่ตำแหน่งสมดุลของสปริงอีกครั้งหนึ่ง เช่นเดียวกับในรูป 1b แต่ในขณะนี้วัตถุมีความเร็วเป็นบวก หรือไปทางขวาวัตถุจึงยืดสปริงออกไป โดยยืดได้มากที่สุดถึงตำแหน่ง x = A ดังแสดงในรูป 1 e ซึ่งเป็นสถานเดียวกับรูป 1a ดังนั้นการเคลื่อนที่ของวัตถุจึงกลับมาในลักษณะเดิม คือจาก 1a  1b  1c  1d  1e  1a เป็นอย่างนี้เรื่อยไป ซึ่งจะเห็นว่าวัตถุมีการเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำของเดิม จึงเป็นการเคลื่อนที่แบบ SHM.
มีข้อพึงระลึก จากสมการที่ (1) หรือ F = -kx ว่า วัตถุที่เคลื่อนที่แบบ SHM นั้น นอกจากจะเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำรอยเดิมแล้ว แรงดึงกลับที่กระทำต่อวัตถุยังแปรผันโดยตรงกับการขจัดของวัตถุอีกด้วย

ในการศึกษาการเคลื่อนที่แบบ SHM นี้ จะต้องกำหนดปริมาณต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การขจัด (dis placement) คือระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้โดยนับจากจุดสมดุล
อัมปลิจูด (amplitude) คือระยะทางมากที่สุดที่วัตถุจะสามารถเคลื่อนที่ไปได้ โดยนับจากจุดสมดุลเช่นเดียวกัน อาจจะพิจารณาได้ว่าอัมปลิจูด ก็คือการขจัดมากที่สุดนั่นเอง
คาบ (period) คือเวลาที่วัตถุใช้ในการสั่น 1 รอบ (เช่นจากรูป 1a ถึง 1e
ความถี่ (frequency) คือจำนวนรอบที่วัตถุสั่น หรือเคลื่อนที่ได้ใน 1 วินาที จากนิยามเหล่านี้ ถ้า f เป็นความถี่ และ T เป็นคาบ จะได้ว่า
T = 
พลังงานของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบ SHM.
ในการยืดหรือหดสปริง จะต้องมีแรงภายนอกไปกระทำต่อสปริงทำให้เกิดงานขึ้น ทั้งนี้เพราะในการยืดหรือหดของสปริงนั้น พลังงานศักย์ ของสปริงจะเพิ่มขึ้น จากนิยามของพลังงานศักย์ที่ว่า "พลังงานศักย์ของวัตถุ ณ จุดใด คืองานที่ใช้ในการเคลื่อนที่วัตถุจากจุดอ้างอิงไปยังจุดนั้น" ถ้า F เป็นแรงที่กระทำต่อสปริงแล้วทำให้สปริงยืด (หรือหด) เป็นระยะทาง x จากตำแหน่งสมดุล จะได้ว่า
งานที่ทำต่อสปริง = Fx
ถ้าให้ตำแหน่งสมดุลเป็นตำแหน่งอ้างอิง จะได้ว่า
พลังงานศักย์ของสปริงที่ตำแหน่ง x ใด ๆ = Fx
แต่ในการยืดหรือหดของสปริงนี้ แรงที่กระทำต่อสปริงจะไม่คงที่ โดยจะขึ้นกับระยะทาง ดังนั้นแรง F จึงเป็นแรงเฉลี่ย โดยจะเฉลี่ยระหว่างแรงที่กระทำต่อสปริงที่ตำแหน่ง x = 0 และที่ x ใดๆ
นั่นคือ  
ดังนั้น พลังงานศักย์ของสปริงที่ตำแหน่ง x ใด ๆ 
เนื่องจาก แรงที่สปริงกระทำต่อวัตถุเป็นแรงอนุรักษ์ ดังนั้นพลังงานทั้งหมด (total energy) ของวัตถุที่เคลื่อนที่ภายใต้อิทธิพลของแรงสปริงจึงคงที่ ถ้า E เป็นค่าพลังงานทั้งหมดนี้ จะได้ว่า ที่ตำแหน่ง x ใด ๆ ซึ่งวัตถุมีความเร็วเป็น v ใด ๆ (ดังแสดงในรูป 2d) จะได้ว่า

รูปที่ 2
ในรูปที่ 2 แสดงการเคลื่อนที่ของวัตถุมวล m ที่ผูกติดกับสปริงเคลื่อนที่บนพื้นราบที่ไม่มีแรงเสียดทาน เช่นเดียวกับในรูปที่ 1 ในรูป a วัตถุอยู่ในตำแหน่ง x = A ซึ่งเป็นค่าอัมปลิจูดของการเคลื่อนที่ ณ ตำแหน่งนี้ วัตถุมีความเร็วเป็นศูนย์ จึงมีแต่พลังงานศักย์ซึ่งมีค่ามากที่สุด
ในรูป b วัตถุอยู่ในตำแหน่งสมดุล การขจัด x เป็นศูนย์ แต่มีอัตราเร็วมากที่สุด ที่ตำแหน่งนี้จึงมีพลังงานศักย์เป็นศูนย์ แต่มีพลังงานจลน์มากที่สุด ถ้า v0 เป็นอัตราเร็วที่ตำแหน่งนี้จะได้ว่า
ในรูป c วัตถุอยู่ในตำแหน่ง x = - A ซึ่งก็เป็นอัมปลิจูดเช่นเดียวกันและเหมือนกับในรูป a ความเร็วของวัตถุเป็นศูนย์ วัตถุจึงมีพลังงานจลน์เป็นศูนย์ ในขณะที่มีพลังงานศักย์มากที่สุด
รูป d เป็นตำแหน่งของวัตถุที่ x ใด ๆ วัตถุมีความเร็วเป็น v ใด ๆ ดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว จึงได้

ขอขอบคุณ : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet3/supinya/harmonic-mot/harmonic.htm

การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิด

เขียนโดย pespenzie ที่ 05:47 0 ความคิดเห็น
การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิด

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.        สืบค้นข้อมูล  ทดลอง  อภิปราย  และเปรียบเทียบแบบแผนของทางเดินอาหารและกระบวนการย่อยอาหารของสัตว์บางชนิด

                 สัตว์แต่ละชนิดมีการนำสารอาหารเข้าสู่ร่างกายและย่อยอาหารอย่างไร
การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิด
สัตว์บางชนิด  เช่น  ฟองน้ำไม่มีระบบทางเดินอาหาร  แต่จะมีเซลล์พิเศษทำหน้าที่จับอาหารเข้าสู่เซลล์แล้วทำการย่อยภายในเซลล์สัตว์บางชนิดมีระบบทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์  เนื่องจากมีช่องเปิดทางเดียว เช่น ไฮดรา พลานาเรีย
                สัตว์บางชนิดเช่น  ไส้เดือนดิน แมลงและสัตว์มีกระดูกสันหลังมีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์  คือมีปากและทวารหนัก ระบบทางเดินอาหารของสัตว์เหล่านี้จะมีโครงสร้างรายละเอียดบางอย่างแตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและพฤติกรรมการกิน
1.  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
                1.1  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่ไม่มีทางเดินอาหาร
                ฟองน้ำ (Sponge)  เป็นสัตว์ในไฟลัมพอริเฟอรา  ไม่มีปากและทวารหนักที่แท้จริง  ทางเดินอาหารเป็นแบบร่างแห (Channel network)  ซึ่งไม่ใช่ทางเดินอาหารที่แท้จริง  เป็นเพียงรูเปิดเล็กๆ ข้างลำตัว  เรียกว่า ออสเทีย (Ostia)  ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลเข้าสู่ลำตัวฟองน้ำเป็นการนำอาหารเข้าสู่ลำตัว  ส่วนรูเปิดด้านบนลำตัว เรียกว่า ออสคิวลัม (Osculum) ทำหน้าที่เป็นทางน้ำออก ผนังด้านในมีเซลล์พิเศษ เรียกว่า เซลล์โคแอนโนไซต์ (Choanocyte) โบกพัดเซลล์อยู่ตลอดเวลา  ทำให้เกิดการไหลเวียนของอาหาร ตัวเซลล์โคแอนโนไซต์นำอาหารเข้าสู่เซลล์โดยฟาโกไซโทซีส (Phagocytosis)เกิดเป็นฟูดแวคิวโอลและมีการย่อยอาหารภายในฟูดแวคิวโอลนอกจากนี้ยังพบเซลล์ บริเวณใกล้กับเซลล์โคแอโนไซต์มีลักษณะคล้ายอะมีบา เรียกว่า อะมีโบไซต์(Amoebocyte)  สามารถนำสารอินทรีย์ขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์และย่อยอาหารภายในเซลล์แล้วส่งอาหารที่ย่อยแล้วไปยังเซลล์อื่นได้


                           ภาพที่  2.1  แสดงโครงสร้างภายในของฟองน้ำ  เซลล์โคแอโนไซด์ในการจับ
                           อาหารแบบฟาโกไซโทซีสย่อย  แล้วส่งอาหารต่ออะมีโบไซต์
                           ที่มา www.mun.ca/biology/scarr/Porifera.htm


            ภาพเคลื่อนที่ 2.1 แสดงออสเทีย Ostia )  ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลเข้าสู่ลำตัวฟองน้ำ  
            ส่วนรูเปิดด้านบนลำตัวเรียกว่าออสคิวลัม
 (Osculumทำหน้าที่เป็นทางน้ำออก

1.2  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ (Incomplete  digestive  tract)
                เป็นทางเดินอาหารที่มีทางเปิดทางเดียว  คือ มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก  ปากทำหน้าที่เป็นทางเข้าของอาหารและทางออกของกากอาหาร  ระบบทางเดินอาหารยังไม่พัฒนามากนัก
                ไฮดรา  เป็นสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย  มีทางเดินอาหารเป็นแบบปากถุง (One hole sac)  ไฮดราใช้อวัยวะคล้ายหนวด เรียกว่าหนวดจับ (Tentacle)  ซึ่งมีอยู่รอบปาก อาหารของไฮดราคือ   ตัวอ่อนของกุ้ง  ปู  และไรน้ำเล็กๆ  และใช้เซลล์ที่มีเนมาโทซิสต์ (Nematocyst)  หรือเข็มพิษที่อยู่ที่ปลายหนวดจับในการล่าเหยื่อ  ต่อจากนั้นจึงส่งเหยื่อเข้าปาก  ทางเดินอาหารของไฮดราอยู่กลางลำตัวเป็นท่อกลวงเรียกว่า ช่องแกสโตรวาสคิวลาร์ (Gastrovascular cavity)  ซึ่งบุด้วยเซลล์ทรงสูง   เรียกว่าชั้นแกสโตรโดรมิส (Gastrodermis) เป็นเยื่อชั้นในบุช่องว่างของลำตัวซึ่งประกอบด้วย
                1. นิวทริทิพ เซลล์ (Nutritive cell) บางเซลล์มีแซ่ 2 เส้น เรียกว่า แฟลเจลเลตเซลล์ (Flagellate cell) บางเซลล์คล้ายอะมีบา เรียกว่าอะมีบอยด์เซลล์ (Amoebiol cell) ทำหน้าที่ยื่นเท้าเทียมออกมาล้อมจับอาหาร ส่วนแฟลเจลเลตเซลล์ มีหน้าที่โบกพัดให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำภายในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ และโบกพัดให้กากอาหารเคลื่อนที่ออกทางปากต่อไป
                2. เซลล์ต่อมหรือเซลล์ย่อยอาหาร (Gland cell or digestive cell) เป็นเซลล์ที่สร้างน้ำย่อยและปล่อยออกมา ซึ่งการย่อยอาหารโดยเซลล์ต่อม จัดเป็นการย่อยอาหารแบบนอกเซลล์ ส่วนการย่อยโดยอะมีบอยด์เซลล์จัดเป็นการย่อยอาหารแบบภายในเซลล์


                       ภาพที่  2.2  แสดงช่องว่างกลางลำตัวของไฮดรา(Gastrovascular  cavity) เซลล์จับอาหารกิน
                       (Nematosis )และเซลล์พิเศษที่สร้างน้ำย่อยของไฮดรา
                       ที่มา www.baanlast.th.gs/web-b/aanlastle.htm

หนอนตัวแบน   เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส (Platyhelminthes ได้แก่
พลานาเรีย  พยาธิใบไม้ และพยาธิตัวตืด
1. พลานาเรีย ทางเดินอาหารของพลานาเรียเป็นแบบ 3 แฉก แต่ละแฉกจะมีแขนงของทางเดินอาหารแตกแขนงย่อยออกไปอีกเรียกว่า ไดเวอร์ทิคิวลัม (Diverticulum) ปากอยู่บริเวณกลางลำตัว  ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) มีลักษณะคล้ายงวงยาวหรือโพเบอซิส (Probosis)  มีกล้ามเนื้อแข็งแรง  มีหน้าที่จับอาหารเข้าสู่ปาก กากอาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึมแล้วจะถูกขับออกทางช่องปากเช่นเดิม  การย่อยอาหารของพลานาเรียเป็นการย่อยภายนอกเซลล์  นอกจากนี้เซลล์บุผนังช่องทางเดินอาหารยังสามารถฟาโกไซโทซิสจับอาหารเข้ามาย่อยภายในเซลล์ได้ด้วย

         

              ภาพที่  2.3  ภาพซ้ายแสดงคอหอยที่ใช้จับอาหารและปาก  และภาพขวาแสดงทางเดินอาหารของพลานาเรีย
              ที่มา  รูปซ้าย  www. johnson.emcs.net        รูปขวา www.geocities.com

2. พยาธิใบไม้ มีทางเดินอาหารคล้ายพลานาเรีย แต่ทางเดินอาหารส่วนลำไส้ไม่แตกกิ่งก้านสาขา  มีลักษณะคล้ายอักษรรูปตัววาย (Y–shape) ทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้ประกอบด้วยปากปุ่มดูด (Oral  sucker) ที่มีปากดูดกินอาหารจากโฮสต์ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) ต่อจากคอหอยเป็นหลอดอาหารสั้น ๆซึ่งจะต่อกับลำไส้ (Intestine)

             

                                ภาพที่ 2.4  แสดงทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้และอวัยวะภายในบางชนิด
                                ที่มา : geocities.com

3. พยาธิตัวตืด  ไม่มีระบบทางเดินอาหาร เพราะอาหารที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายส่วนใหญ่ถูกแปรสภาพเรียบร้อยแล้วโดยผู้ถูกอาศัย   ใช้กระบวนการแพร่ของสารอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกาย

Tape Worm

                                                   ภาพที่ 2.5  ลักษณะของพยาธิตัวตืด
                                                   ที่มา www.kateteneyck.com


              ภาพที่ 2.6  ภาพตัวโตเต็มวัยของพยาธิตัวตืดที่เน้นให้เห็นส่วนหัว โดยเฉพาะส่วนที่ใช้เกาะดูด (Sucker)
              ที่มา : www.thailabonline.com/bacteria/tenia1.jpg

1.3 การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ (Complete  digestive  tract)
                หนอนตัวกลม เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมเนมาโทดา (Nematodaมีทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง หรือท่อกลวง(Two hole tube)  มีคอหอยเป็นกล้ามเนื้อหนาช่วยในการดูดอาหาร  มีลำไส้ยาวตลอดลำตัว อาหารที่หนอนตัวกลมกินเข้าไปจะถูกย่อยและดูดซึมโดยลำไส้

ทางเดินอาหารของหนอนตัวกลมเรียงตามลำดับต่อไปนี้
 





ภาพที่ 2.7  แสดงทางเดินอาหารของหนอนตัวกลม มีปากและทาวารหนัก
                             ที่มา www.uic.edu/classes/bios/bios100/labs/animaldiversity.htm

ไส้เดือนดิน เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมแอนนิลิดา มีระบบทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube) ทางเดินอาหารของไส้เดือนดินประกอบด้วยปาก ซึ่งเป็นรูเปิดทางด้านหน้าของปล้องที่หนึ่ง ต่อจากปากก็จะเป็นช่องปาก (Buccalcavity) คอหอยมีกล้ามเนื้อหนาช่วยในการฮุบกิน มีกระเพาะพักอาหารและมีกึ๋นช่วยในการบดอาหาร ลำไส้สร้างน้ำย่อยปล่อยออกมาย่อยอาหาร สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบเลือด เพื่อลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่วนสารที่ย่อยไม่ได้ก็จะถูกขับออกทางช่องทวารหนักที่อยู่ทางส่วนท้ายของลำตัวเป็นกากอาหาร

ทางเดินอาหารของไส้เดือนดินเรียงตามลำดับต่อไปนี้




                                  ภาพที่  2.8 แสดงส่วนประกอบของทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน
                                  ที่มา www.anatomy.th

กุ้ง เป็นสัตว์ขาปล้องจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทโพดา ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง(Two hole tube) แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
                1. ทางเดินอาหารตอนหน้า(Stomodaeumใช้ปากซึ่งมีรยางค์รอบปาก 3 คู่ ช่วยในการกินเคี้ยวอาหารและมีต่อมน้ำลาย(Salivary gland) ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย มีหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ซึ่งกระเพาะอาหารของกุ้ง ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ เป็นที่พักและบดอาหาร
                2. ทางเดินอาหารตอนกลาง(Mesenteron) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกระเพาะอาหาร และมีช่องรับน้ำย่อย   ทางเดินอาหารส่วนนี้จึงทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร
                3. ทางเดินอาหารตอนปลาย(Protodaeumเป็นส่วนที่เรียกว่าลำไส้ เป็นท่อเล็ก ๆ พาดไปทางด้านหลังของลำตัว และไปเปิดออกที่ส่วนท้ายของส่วนท้องเรียกว่า ทวารหนัก

                ทางเดินอาหารของกุ้งเรียงตามลำดับดังนี้





                                          ภาพที่ 2.9  แสดงทางเดินอาหารของกุ้ง
                                          ที่มา : www.infovisual.info/02/img_en/025%20Internal%...

 แมลง เป็นสัตว์ในกลุ่มขาปล้องจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทโพดา ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube)ปากของแมลงมีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างออกไป ให้มีความเหมาะสมกับสภาพของอาหารที่แมลงแต่ละชนิดกิน แต่แมลงมีลักษณะพื้นฐานของทางเดินอาหารที่เหมือนกัน คือ ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะพักอาหารขนาดใหญ่ อยู่บริเวณทรวงอก และกระเพาะบดอาหาร(Gizzard)  ช่วยในการกรองและบดอาหาร มีต่อมสร้างน้ำย่อย (Digestive  gland) มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ  8 อัน ยื่นออกมาจากทางเดินอาหารระหว่างกึ๋นและกระเพาะอาหาร

ทางเดินอาหารของแมลงเรียงตามลำดับได้ดังนี้


                                            ภาพที่  2.10   แสดงทางเดินอาหารของตั๊กแตน
                                            ที่มา kentsimmons.uwinnipeg

หอยกาบ เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมมอลลัสกา มีทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube) หอยกาบมีทางเดินอาหารแบ่งออกเป็นส่วน ๆ คือ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ไส้ตรงและทวารหนัก การกินอาหารของหอยกาบ จะใช้เลเบียลพัลพ์ (Labial palp)  ข้างละ 1 คู่ ของปาก ช่วยพัดโบกให้อาหารตกลงไปในปาก

ทางเดินอาหารของหอยกาบเรียงตามลำดับต่อไปนี้
 



Digestive system of a generalized mollusk

                                                 ภาพที่ 2.11  แสดงทางเดินอาหารของหอย
                                                 ที่มา : www.cnsweb.org/digestvertebrates

2. การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีกระดูกสันหลัง
2.1 การย่อยอาหารของปลา ปลาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา(Chordata) ปลามีทั้งปลาปากกลมซึ่งเป็นปลาที่ไม่มีขากรรไกรขอบของปากและลิ้นมีฟันใช้ขูดเนื้อและดูดกินเลือดสัตว์อื่น   ปลาฉลามมีปากอยู่ทางด้านล่างและมีฟันจำนวนมาก  ฉลามมีลำไส้สั้นและภายในมีลิ้นซึ่งมีลักษณะเหมือนบันไดเวียน (Spiral valve) ช่วยในการถ่วงเวลาไม่ให้อาหารเคลื่อนตัวไปเร็ว   และพวกปลากระดูกแข็งมีปากซึ่งภายในมีฟันรูปกรวย  มีลิ้นขนาดเล็กยื่นออกมาจากปากทำหน้าที่รับสัมผัส พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาน้ำดอกไม้ ปลาพวกนี้จะมีลำไส้สั้น ส่วนปลากินพืช เช่น  ปลาทู ปลาสลิด จะมีลำไส้ยาว

ทางเดินอาหารของปลาเรียงตามลำดับต่อไปนี้

    ปาก     คอหอย       หลอดอาหาร       กระเพาะอาหาร      ลำไส้      ทวารหนัก


                                            ภาพที่ 2.12  ภาพแสดงทางเดินอาหารของปลา
                                            ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2544. ชีววิทยาเล่ม. บทที่ 5 หน้า 32


                                          ภาพที่ 2.13 แสดงลิ้นซึ่งมีลักษณะเหมือนบันไดเวียน (Spiral valve) ของปลาฉลาม
                                          ที่มา : library.think.org

2.2  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดปีก  ได้แก่ นก เป็ด ไก่  ซึ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา(Chordata)  ทางเดินอาหารประกอบด้วยปากซึ่งไม่มีฟัน  ต่อมน้ำลายเจริญไม่ดี  แต่สร้างเมือกสำหรับคลุกเคล้าอาหารและหล่อลื่นได้  มีคอหอยสั้น  หลอดอาหารยาว  มีถุงพักอาหาร(Crop) ซึ่งทำหน้าที่เก็บอาหารสำรองไว้ย่อยภายหลัง  กระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น ส่วน  คือ  กระเพาะตอนหน้าหรือกระเพาะย่อย (Proventriculus)  ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย  และกระเพาะอาหารตอนท้ายหรือกระเพาะบด (Gizzard)  ต่อจากกระเพาะบดเป็นลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่  ส่วนท้ายเป็นโคลเอกา (Cloaca)  ที่มีท่อไตและท่อของระบบสืบพันธุ์มาเปิดเข้าด้วยกัน  และทวารหนักซึ่งเป็นส่วนท้ายสุด

ทางเดินอาหารของสัตว์ปีกเรียงตามลำดับต่อไปนี้


                                                  ภาพที่ 2.14  แสดงทางเดินอาหารของนก
                                                  ที่มา  www.kidwings.com


                                               ภาพที่ 2.15  แสดงทางเดินอาหารของไก่
                                               ที่มา www.dpi.qld.gov.au/images/AnimalIndustries_Po...

2.3  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดกินพืช  ได้แก่ วัว ควาย จะมีโครงสร้างของทางเดินอาหารแตกต่างจากคนและสัตว์กินเนื้ออื่นๆ อยู่ ประการ คือ
       1.  การมีทางเดินอาหารที่ยาวมากๆ ยาวถึง 40 เมตร  ทำให้ระยะเวลาในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารนานยิ่งขึ้น  กระเพาะอาหารของวัวและควายแบ่งออกเป็น ส่วน มีชื่อและลักษณะเฉพาะ  ได้แก่    
1.1  กระเพาะผ้าขี้ริ้วหรือรูเมน (Rumen)  เป็นกระเพาะอาหารที่มีจุลินทรีย์ พวก
แบคทีเรียและ  โพรโทซัวจำนวนมาก  จุลินทรีย์พวกนี้สร้างน้ำย่อยเซลลูเลส  ย่อยสลายเซลลูโลสจากพืชที่กินเข้าไปและสามารถสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวเอื้องเป็นครั้งคราวเพื่อบดเส้นใยให้ละเอียดจึงเรียกสัตว์พวกนี้ว่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง
1.2  กระเพาะรังผึ้งหรือเรติคิวลัม (Reticulum)  ทำหน้าที่ย่อยนม เมื่อโค กระบือยัง
เล็กอยู่  และมีจุลินทรีย์เช่นเดียวกับกระเพาะอาหารส่วนรูเมน
1.3  กระเพาะสามสิบกลีบหรือโอมาซัม (Omasum)  ทำหน้าที่ผสมและบดอาหาร
นอกจากนี้ยังดูดซึมและซับน้ำจากรูเมนอีกด้วย
1.4     กระเพาะจริงหรืออะโบมาซัม (Abomasum)  มีการย่อยอาหารและจุลินทรีย์ไป
พร้อมๆกัน  แล้วจึงส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพื่อย่อยให้สมบูรณ์
เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กตอนต้น  จะมีการย่อยโปรตีน  ไขมันและแป้งจากน้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำดีจากตับ  จากนั้นก็ดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนต่อไป


                                          ภาพที่ 2.16  แสดงทางเดินอาหารของวัว
                                          ที่มา www.nicksnowden.net/images/cow_cutaway_rumina


    ภาพที่  2.17  แสดงกระเพาะอาหารของวัวซึ่งแบ่งได้เป็น  4  ส่วน Rumen ,Reticulum , Omasum และ Abomasum
    ที่มา : www.sheep101.info/Images/rumen.gif

                ในปัจจุบันมีการนำเอาแบคทีเรียและโพรโทซัวมาผสมในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยและการดูดซึมอาหารของสัตว์
              2. การมีไส้ติ่งใหญ่  ไส้ติ่งของสัตว์กินพืชจะมีขนาดใหญ่ และเป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารโดยจุลินทรีย์ด้วย  สำหรับไส้ติ่งของสัตว์กินเนื้อจะมีขนาดเล็กและไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร


ภาพเคลื่อนที่ 2.2 แผนภาพแสดงการเคลื่อนที่ของอาหารผ่านทางเดินอาหาร และการเคี้ยวเอื้องในสัตว์เคี้ยวเอื้อง



 

yumyump Copyright © 2011 Designed by Ipietoon Blogger Template Sponsored by web hosting