วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

พันธะเคมีในชีวิตประจำวัน

เขียนโดย pespenzie ที่ 06:03


พันธะเคมีในชีวิตประจำวัน
ยาที่มีแอสไพรินเป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทางเคมี คือ

แบบจำลองโมเลกุล ของแอสไพริน

จากสูตรโครงสร้างเราอาจสงสัยว่าทำไม
อะตอมของธาตุ ออกซิเจน คาร์บอน และ
ไฮโดรเจน ( O, C and H ) ถึงมารวมกันเกิดเป็น
สารประกอบได้ และอะไรที่ยึดอะตอมเหล่านั้น
ไว้ให้อยู่ในรูปโมเลกุล
ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมและคลอรีน
                                    โซเดียม (Na) เป็นธาตุโลหะสีเงิน มีสถานะเป็นของแข็งสามารถทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำและติดไฟได้
                                     คลอรีน(Cl) เป็นธาตุอโลหะมีสถานะเป็นแก๊สมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนและเป็นพิษ
    แต่เมื่อธาตุทั้งสองมาทำปฏิกิริยากัน เกิดเป็นสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) หรือเกลือแกงกลับไม่มีอันตราย และมนุษย์ยังสามารถบริโภคได้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แล้ว Na กับ Cl มาทำปฏิกิริยากันเกิดเป็น NaCl ได้อย่างไร ?
     
           ในการสร้างบ้านนั้นบางครั้งก็นำแผ่นไม้หลายๆแผ่นประกบกัน โดยช่างจะทำการตอกตะปูเพื่อยึดแผ่นไม้แต่ละแผ่นเข้าด้วยกันเฉกเช่นเดียวกับโมเลกุลซึ่งเกิดจากหลายๆอะตอมมารวมกัน ซึ่งแรงที่ยึดเหนี่ยวอะตอมเข้าด้วยกันเป็นโมเลกุลก็คือ
 พันธะเคมี

ชนิดของพันธะเคมี
พันธะภายในโมเลกุล
(intramolecular bond)
พันธะระหว่างโมเลกุล
(intermolecular bond)
พันธะโคเวเลนต์ (covalent bonds)
พันธะไฮโดรเจน (hydrogen bonds)
พันธะไอออนิก (ionic bonds)
แรงแวนเดอร์วาลส์ (Van der Waals forces)
พันธะโลหะ ( metallic bonds)
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล-ไอออน
(molecule-ion attractions)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

yumyump Copyright © 2011 Designed by Ipietoon Blogger Template Sponsored by web hosting