วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิด

เขียนโดย pespenzie ที่ 05:47
การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิด

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.        สืบค้นข้อมูล  ทดลอง  อภิปราย  และเปรียบเทียบแบบแผนของทางเดินอาหารและกระบวนการย่อยอาหารของสัตว์บางชนิด

                 สัตว์แต่ละชนิดมีการนำสารอาหารเข้าสู่ร่างกายและย่อยอาหารอย่างไร
การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิด
สัตว์บางชนิด  เช่น  ฟองน้ำไม่มีระบบทางเดินอาหาร  แต่จะมีเซลล์พิเศษทำหน้าที่จับอาหารเข้าสู่เซลล์แล้วทำการย่อยภายในเซลล์สัตว์บางชนิดมีระบบทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์  เนื่องจากมีช่องเปิดทางเดียว เช่น ไฮดรา พลานาเรีย
                สัตว์บางชนิดเช่น  ไส้เดือนดิน แมลงและสัตว์มีกระดูกสันหลังมีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์  คือมีปากและทวารหนัก ระบบทางเดินอาหารของสัตว์เหล่านี้จะมีโครงสร้างรายละเอียดบางอย่างแตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและพฤติกรรมการกิน
1.  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
                1.1  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่ไม่มีทางเดินอาหาร
                ฟองน้ำ (Sponge)  เป็นสัตว์ในไฟลัมพอริเฟอรา  ไม่มีปากและทวารหนักที่แท้จริง  ทางเดินอาหารเป็นแบบร่างแห (Channel network)  ซึ่งไม่ใช่ทางเดินอาหารที่แท้จริง  เป็นเพียงรูเปิดเล็กๆ ข้างลำตัว  เรียกว่า ออสเทีย (Ostia)  ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลเข้าสู่ลำตัวฟองน้ำเป็นการนำอาหารเข้าสู่ลำตัว  ส่วนรูเปิดด้านบนลำตัว เรียกว่า ออสคิวลัม (Osculum) ทำหน้าที่เป็นทางน้ำออก ผนังด้านในมีเซลล์พิเศษ เรียกว่า เซลล์โคแอนโนไซต์ (Choanocyte) โบกพัดเซลล์อยู่ตลอดเวลา  ทำให้เกิดการไหลเวียนของอาหาร ตัวเซลล์โคแอนโนไซต์นำอาหารเข้าสู่เซลล์โดยฟาโกไซโทซีส (Phagocytosis)เกิดเป็นฟูดแวคิวโอลและมีการย่อยอาหารภายในฟูดแวคิวโอลนอกจากนี้ยังพบเซลล์ บริเวณใกล้กับเซลล์โคแอโนไซต์มีลักษณะคล้ายอะมีบา เรียกว่า อะมีโบไซต์(Amoebocyte)  สามารถนำสารอินทรีย์ขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์และย่อยอาหารภายในเซลล์แล้วส่งอาหารที่ย่อยแล้วไปยังเซลล์อื่นได้


                           ภาพที่  2.1  แสดงโครงสร้างภายในของฟองน้ำ  เซลล์โคแอโนไซด์ในการจับ
                           อาหารแบบฟาโกไซโทซีสย่อย  แล้วส่งอาหารต่ออะมีโบไซต์
                           ที่มา www.mun.ca/biology/scarr/Porifera.htm


            ภาพเคลื่อนที่ 2.1 แสดงออสเทีย Ostia )  ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลเข้าสู่ลำตัวฟองน้ำ  
            ส่วนรูเปิดด้านบนลำตัวเรียกว่าออสคิวลัม
 (Osculumทำหน้าที่เป็นทางน้ำออก

1.2  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ (Incomplete  digestive  tract)
                เป็นทางเดินอาหารที่มีทางเปิดทางเดียว  คือ มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก  ปากทำหน้าที่เป็นทางเข้าของอาหารและทางออกของกากอาหาร  ระบบทางเดินอาหารยังไม่พัฒนามากนัก
                ไฮดรา  เป็นสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย  มีทางเดินอาหารเป็นแบบปากถุง (One hole sac)  ไฮดราใช้อวัยวะคล้ายหนวด เรียกว่าหนวดจับ (Tentacle)  ซึ่งมีอยู่รอบปาก อาหารของไฮดราคือ   ตัวอ่อนของกุ้ง  ปู  และไรน้ำเล็กๆ  และใช้เซลล์ที่มีเนมาโทซิสต์ (Nematocyst)  หรือเข็มพิษที่อยู่ที่ปลายหนวดจับในการล่าเหยื่อ  ต่อจากนั้นจึงส่งเหยื่อเข้าปาก  ทางเดินอาหารของไฮดราอยู่กลางลำตัวเป็นท่อกลวงเรียกว่า ช่องแกสโตรวาสคิวลาร์ (Gastrovascular cavity)  ซึ่งบุด้วยเซลล์ทรงสูง   เรียกว่าชั้นแกสโตรโดรมิส (Gastrodermis) เป็นเยื่อชั้นในบุช่องว่างของลำตัวซึ่งประกอบด้วย
                1. นิวทริทิพ เซลล์ (Nutritive cell) บางเซลล์มีแซ่ 2 เส้น เรียกว่า แฟลเจลเลตเซลล์ (Flagellate cell) บางเซลล์คล้ายอะมีบา เรียกว่าอะมีบอยด์เซลล์ (Amoebiol cell) ทำหน้าที่ยื่นเท้าเทียมออกมาล้อมจับอาหาร ส่วนแฟลเจลเลตเซลล์ มีหน้าที่โบกพัดให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำภายในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ และโบกพัดให้กากอาหารเคลื่อนที่ออกทางปากต่อไป
                2. เซลล์ต่อมหรือเซลล์ย่อยอาหาร (Gland cell or digestive cell) เป็นเซลล์ที่สร้างน้ำย่อยและปล่อยออกมา ซึ่งการย่อยอาหารโดยเซลล์ต่อม จัดเป็นการย่อยอาหารแบบนอกเซลล์ ส่วนการย่อยโดยอะมีบอยด์เซลล์จัดเป็นการย่อยอาหารแบบภายในเซลล์


                       ภาพที่  2.2  แสดงช่องว่างกลางลำตัวของไฮดรา(Gastrovascular  cavity) เซลล์จับอาหารกิน
                       (Nematosis )และเซลล์พิเศษที่สร้างน้ำย่อยของไฮดรา
                       ที่มา www.baanlast.th.gs/web-b/aanlastle.htm

หนอนตัวแบน   เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส (Platyhelminthes ได้แก่
พลานาเรีย  พยาธิใบไม้ และพยาธิตัวตืด
1. พลานาเรีย ทางเดินอาหารของพลานาเรียเป็นแบบ 3 แฉก แต่ละแฉกจะมีแขนงของทางเดินอาหารแตกแขนงย่อยออกไปอีกเรียกว่า ไดเวอร์ทิคิวลัม (Diverticulum) ปากอยู่บริเวณกลางลำตัว  ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) มีลักษณะคล้ายงวงยาวหรือโพเบอซิส (Probosis)  มีกล้ามเนื้อแข็งแรง  มีหน้าที่จับอาหารเข้าสู่ปาก กากอาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึมแล้วจะถูกขับออกทางช่องปากเช่นเดิม  การย่อยอาหารของพลานาเรียเป็นการย่อยภายนอกเซลล์  นอกจากนี้เซลล์บุผนังช่องทางเดินอาหารยังสามารถฟาโกไซโทซิสจับอาหารเข้ามาย่อยภายในเซลล์ได้ด้วย

         

              ภาพที่  2.3  ภาพซ้ายแสดงคอหอยที่ใช้จับอาหารและปาก  และภาพขวาแสดงทางเดินอาหารของพลานาเรีย
              ที่มา  รูปซ้าย  www. johnson.emcs.net        รูปขวา www.geocities.com

2. พยาธิใบไม้ มีทางเดินอาหารคล้ายพลานาเรีย แต่ทางเดินอาหารส่วนลำไส้ไม่แตกกิ่งก้านสาขา  มีลักษณะคล้ายอักษรรูปตัววาย (Y–shape) ทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้ประกอบด้วยปากปุ่มดูด (Oral  sucker) ที่มีปากดูดกินอาหารจากโฮสต์ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) ต่อจากคอหอยเป็นหลอดอาหารสั้น ๆซึ่งจะต่อกับลำไส้ (Intestine)

             

                                ภาพที่ 2.4  แสดงทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้และอวัยวะภายในบางชนิด
                                ที่มา : geocities.com

3. พยาธิตัวตืด  ไม่มีระบบทางเดินอาหาร เพราะอาหารที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายส่วนใหญ่ถูกแปรสภาพเรียบร้อยแล้วโดยผู้ถูกอาศัย   ใช้กระบวนการแพร่ของสารอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกาย

Tape Worm

                                                   ภาพที่ 2.5  ลักษณะของพยาธิตัวตืด
                                                   ที่มา www.kateteneyck.com


              ภาพที่ 2.6  ภาพตัวโตเต็มวัยของพยาธิตัวตืดที่เน้นให้เห็นส่วนหัว โดยเฉพาะส่วนที่ใช้เกาะดูด (Sucker)
              ที่มา : www.thailabonline.com/bacteria/tenia1.jpg

1.3 การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ (Complete  digestive  tract)
                หนอนตัวกลม เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมเนมาโทดา (Nematodaมีทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง หรือท่อกลวง(Two hole tube)  มีคอหอยเป็นกล้ามเนื้อหนาช่วยในการดูดอาหาร  มีลำไส้ยาวตลอดลำตัว อาหารที่หนอนตัวกลมกินเข้าไปจะถูกย่อยและดูดซึมโดยลำไส้

ทางเดินอาหารของหนอนตัวกลมเรียงตามลำดับต่อไปนี้
 





ภาพที่ 2.7  แสดงทางเดินอาหารของหนอนตัวกลม มีปากและทาวารหนัก
                             ที่มา www.uic.edu/classes/bios/bios100/labs/animaldiversity.htm

ไส้เดือนดิน เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมแอนนิลิดา มีระบบทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube) ทางเดินอาหารของไส้เดือนดินประกอบด้วยปาก ซึ่งเป็นรูเปิดทางด้านหน้าของปล้องที่หนึ่ง ต่อจากปากก็จะเป็นช่องปาก (Buccalcavity) คอหอยมีกล้ามเนื้อหนาช่วยในการฮุบกิน มีกระเพาะพักอาหารและมีกึ๋นช่วยในการบดอาหาร ลำไส้สร้างน้ำย่อยปล่อยออกมาย่อยอาหาร สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบเลือด เพื่อลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่วนสารที่ย่อยไม่ได้ก็จะถูกขับออกทางช่องทวารหนักที่อยู่ทางส่วนท้ายของลำตัวเป็นกากอาหาร

ทางเดินอาหารของไส้เดือนดินเรียงตามลำดับต่อไปนี้




                                  ภาพที่  2.8 แสดงส่วนประกอบของทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน
                                  ที่มา www.anatomy.th

กุ้ง เป็นสัตว์ขาปล้องจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทโพดา ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง(Two hole tube) แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
                1. ทางเดินอาหารตอนหน้า(Stomodaeumใช้ปากซึ่งมีรยางค์รอบปาก 3 คู่ ช่วยในการกินเคี้ยวอาหารและมีต่อมน้ำลาย(Salivary gland) ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย มีหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ซึ่งกระเพาะอาหารของกุ้ง ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ เป็นที่พักและบดอาหาร
                2. ทางเดินอาหารตอนกลาง(Mesenteron) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกระเพาะอาหาร และมีช่องรับน้ำย่อย   ทางเดินอาหารส่วนนี้จึงทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร
                3. ทางเดินอาหารตอนปลาย(Protodaeumเป็นส่วนที่เรียกว่าลำไส้ เป็นท่อเล็ก ๆ พาดไปทางด้านหลังของลำตัว และไปเปิดออกที่ส่วนท้ายของส่วนท้องเรียกว่า ทวารหนัก

                ทางเดินอาหารของกุ้งเรียงตามลำดับดังนี้





                                          ภาพที่ 2.9  แสดงทางเดินอาหารของกุ้ง
                                          ที่มา : www.infovisual.info/02/img_en/025%20Internal%...

 แมลง เป็นสัตว์ในกลุ่มขาปล้องจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทโพดา ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube)ปากของแมลงมีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างออกไป ให้มีความเหมาะสมกับสภาพของอาหารที่แมลงแต่ละชนิดกิน แต่แมลงมีลักษณะพื้นฐานของทางเดินอาหารที่เหมือนกัน คือ ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะพักอาหารขนาดใหญ่ อยู่บริเวณทรวงอก และกระเพาะบดอาหาร(Gizzard)  ช่วยในการกรองและบดอาหาร มีต่อมสร้างน้ำย่อย (Digestive  gland) มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ  8 อัน ยื่นออกมาจากทางเดินอาหารระหว่างกึ๋นและกระเพาะอาหาร

ทางเดินอาหารของแมลงเรียงตามลำดับได้ดังนี้


                                            ภาพที่  2.10   แสดงทางเดินอาหารของตั๊กแตน
                                            ที่มา kentsimmons.uwinnipeg

หอยกาบ เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมมอลลัสกา มีทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube) หอยกาบมีทางเดินอาหารแบ่งออกเป็นส่วน ๆ คือ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ไส้ตรงและทวารหนัก การกินอาหารของหอยกาบ จะใช้เลเบียลพัลพ์ (Labial palp)  ข้างละ 1 คู่ ของปาก ช่วยพัดโบกให้อาหารตกลงไปในปาก

ทางเดินอาหารของหอยกาบเรียงตามลำดับต่อไปนี้
 



Digestive system of a generalized mollusk

                                                 ภาพที่ 2.11  แสดงทางเดินอาหารของหอย
                                                 ที่มา : www.cnsweb.org/digestvertebrates

2. การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีกระดูกสันหลัง
2.1 การย่อยอาหารของปลา ปลาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา(Chordata) ปลามีทั้งปลาปากกลมซึ่งเป็นปลาที่ไม่มีขากรรไกรขอบของปากและลิ้นมีฟันใช้ขูดเนื้อและดูดกินเลือดสัตว์อื่น   ปลาฉลามมีปากอยู่ทางด้านล่างและมีฟันจำนวนมาก  ฉลามมีลำไส้สั้นและภายในมีลิ้นซึ่งมีลักษณะเหมือนบันไดเวียน (Spiral valve) ช่วยในการถ่วงเวลาไม่ให้อาหารเคลื่อนตัวไปเร็ว   และพวกปลากระดูกแข็งมีปากซึ่งภายในมีฟันรูปกรวย  มีลิ้นขนาดเล็กยื่นออกมาจากปากทำหน้าที่รับสัมผัส พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาน้ำดอกไม้ ปลาพวกนี้จะมีลำไส้สั้น ส่วนปลากินพืช เช่น  ปลาทู ปลาสลิด จะมีลำไส้ยาว

ทางเดินอาหารของปลาเรียงตามลำดับต่อไปนี้

    ปาก     คอหอย       หลอดอาหาร       กระเพาะอาหาร      ลำไส้      ทวารหนัก


                                            ภาพที่ 2.12  ภาพแสดงทางเดินอาหารของปลา
                                            ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2544. ชีววิทยาเล่ม. บทที่ 5 หน้า 32


                                          ภาพที่ 2.13 แสดงลิ้นซึ่งมีลักษณะเหมือนบันไดเวียน (Spiral valve) ของปลาฉลาม
                                          ที่มา : library.think.org

2.2  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดปีก  ได้แก่ นก เป็ด ไก่  ซึ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา(Chordata)  ทางเดินอาหารประกอบด้วยปากซึ่งไม่มีฟัน  ต่อมน้ำลายเจริญไม่ดี  แต่สร้างเมือกสำหรับคลุกเคล้าอาหารและหล่อลื่นได้  มีคอหอยสั้น  หลอดอาหารยาว  มีถุงพักอาหาร(Crop) ซึ่งทำหน้าที่เก็บอาหารสำรองไว้ย่อยภายหลัง  กระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น ส่วน  คือ  กระเพาะตอนหน้าหรือกระเพาะย่อย (Proventriculus)  ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย  และกระเพาะอาหารตอนท้ายหรือกระเพาะบด (Gizzard)  ต่อจากกระเพาะบดเป็นลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่  ส่วนท้ายเป็นโคลเอกา (Cloaca)  ที่มีท่อไตและท่อของระบบสืบพันธุ์มาเปิดเข้าด้วยกัน  และทวารหนักซึ่งเป็นส่วนท้ายสุด

ทางเดินอาหารของสัตว์ปีกเรียงตามลำดับต่อไปนี้


                                                  ภาพที่ 2.14  แสดงทางเดินอาหารของนก
                                                  ที่มา  www.kidwings.com


                                               ภาพที่ 2.15  แสดงทางเดินอาหารของไก่
                                               ที่มา www.dpi.qld.gov.au/images/AnimalIndustries_Po...

2.3  การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดกินพืช  ได้แก่ วัว ควาย จะมีโครงสร้างของทางเดินอาหารแตกต่างจากคนและสัตว์กินเนื้ออื่นๆ อยู่ ประการ คือ
       1.  การมีทางเดินอาหารที่ยาวมากๆ ยาวถึง 40 เมตร  ทำให้ระยะเวลาในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารนานยิ่งขึ้น  กระเพาะอาหารของวัวและควายแบ่งออกเป็น ส่วน มีชื่อและลักษณะเฉพาะ  ได้แก่    
1.1  กระเพาะผ้าขี้ริ้วหรือรูเมน (Rumen)  เป็นกระเพาะอาหารที่มีจุลินทรีย์ พวก
แบคทีเรียและ  โพรโทซัวจำนวนมาก  จุลินทรีย์พวกนี้สร้างน้ำย่อยเซลลูเลส  ย่อยสลายเซลลูโลสจากพืชที่กินเข้าไปและสามารถสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวเอื้องเป็นครั้งคราวเพื่อบดเส้นใยให้ละเอียดจึงเรียกสัตว์พวกนี้ว่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง
1.2  กระเพาะรังผึ้งหรือเรติคิวลัม (Reticulum)  ทำหน้าที่ย่อยนม เมื่อโค กระบือยัง
เล็กอยู่  และมีจุลินทรีย์เช่นเดียวกับกระเพาะอาหารส่วนรูเมน
1.3  กระเพาะสามสิบกลีบหรือโอมาซัม (Omasum)  ทำหน้าที่ผสมและบดอาหาร
นอกจากนี้ยังดูดซึมและซับน้ำจากรูเมนอีกด้วย
1.4     กระเพาะจริงหรืออะโบมาซัม (Abomasum)  มีการย่อยอาหารและจุลินทรีย์ไป
พร้อมๆกัน  แล้วจึงส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพื่อย่อยให้สมบูรณ์
เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กตอนต้น  จะมีการย่อยโปรตีน  ไขมันและแป้งจากน้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำดีจากตับ  จากนั้นก็ดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนต่อไป


                                          ภาพที่ 2.16  แสดงทางเดินอาหารของวัว
                                          ที่มา www.nicksnowden.net/images/cow_cutaway_rumina


    ภาพที่  2.17  แสดงกระเพาะอาหารของวัวซึ่งแบ่งได้เป็น  4  ส่วน Rumen ,Reticulum , Omasum และ Abomasum
    ที่มา : www.sheep101.info/Images/rumen.gif

                ในปัจจุบันมีการนำเอาแบคทีเรียและโพรโทซัวมาผสมในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยและการดูดซึมอาหารของสัตว์
              2. การมีไส้ติ่งใหญ่  ไส้ติ่งของสัตว์กินพืชจะมีขนาดใหญ่ และเป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารโดยจุลินทรีย์ด้วย  สำหรับไส้ติ่งของสัตว์กินเนื้อจะมีขนาดเล็กและไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร


ภาพเคลื่อนที่ 2.2 แผนภาพแสดงการเคลื่อนที่ของอาหารผ่านทางเดินอาหาร และการเคี้ยวเอื้องในสัตว์เคี้ยวเอื้อง



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

yumyump Copyright © 2011 Designed by Ipietoon Blogger Template Sponsored by web hosting